วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

เนื้อเยื่อ อวัยว

เนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบของร่างกาย
สัตว์และพืชเมื่อแบ่งเซลล์แล้ว เซลล์ที่ได้ใหม่จะมีการรวมกลุ่มกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue) ชนิดต่างๆ เนื้อเยื่อชนิดต่างๆจะรวมกัน เป็นอวัยวะ (organ) และอวัยวะก็รวมกันเป็นระบบ (system) ระบบแต่ละระบบก็ทำหน้าที่เฉพาะลงไป เช่นระบบย่อยอาหาร (digestive system) ระบบเหล่านี้จะรวมกันและประกอบขึ้นเป็นรูปร่างหรือร่างกายของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด (body)
1. เนื้อเยื่อของสัตว์ (animal tissue)จำแนกออกเป็น
      1.1เนื้อเยื่อบุผิว (epithelial tissue)    เป็นเนื้อเยื่อที่บุผิวนอกร่างกาย หรือเป็นผิวของอวัยวะ หรือบุช่องว่างภายในร่างกาย โดยเนื้อเยื่อบุผิวจะเรียวตัวอยู่บนเยื่อรองรับฐาน (basement membrane) และผนังด้านบนของเยื่อบุผิว ไม่ติดต่อกับเนื้อเยื่ออื่นๆ ไม่มีเส้นเลือดมาเลี้ยง ได้รับสารอาหาร แก๊สต่างๆ จากการแพร่
            เยื่อบุผิวเมื่อจำแนกตามรูปร่างและการจัดระเบียบของเซลล์ ได้ดังนี้
      1) เยื่อบุผิวเรียงตัวชั้นเดียว (simple epithelium) ประกอบด้วยเซลล์รูปร่าง 3 แบบ คือ เซลล์รูปร่างแบนบาง (simple spuamous epithelium) เช่น เยื่อบุข้างแก้ม หรือเวลล์รูปเหลี่ยมลูกบาศก์ (dimplr vunoifsl rpiyhrlium) เช่น พบที่ท่อของหลอดไต ทำน้ำดี และเซลล์ทรงสูง (simple columnar epithelium) เช่น พบที่ผนังลำไส้เล็ก ทำนำไข่
      2) เยื่อบุผิวเรียงตัวหลายชั้น (stratified epithelium) เป็นเนื้อเยื่อบุผิวที่ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวหลายชั้น ได้แก่
         1. Stratified squamous epithelium เป็นเนื้อเยื่อบุผิวที่ประกอบด้วยเซลล์ รูปร่างหลายเหลี่ยม แบนบาง เรียงกันหลายชั้น เช่น พบที่ผิวหนัง
         2. Stratified cuboidal epithelium ประกอบด้วย เซลล์รูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ เรียงตัวหลายชั้น เช่น พบที่ต่อมเหงื่อ
         3. Stratified columnar epithelium ประกอบด้วย เซลล์รูปทรงกระบอกสูง ตั้งอยู่บนเยื่อบุผิวอื่นๆ เช่นพบที่บางบริเวณของ เยื่อบุคอหอย
      3) เยื่อบุผิวเรียงตัวหลายชั้นเทียม (pseudostratified epithelium) เป็นเนื้อเยื่อบุผิว ที่ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวเพียงชั้นเดียวบนเยื่อฐานรองรับ แต่ระดับความสูงของเซลล์ต่างๆ ไม่เท่ากัน ทำให้เห็นเหมือนกับว่า เซลล์ซ้อนกันหลายชั้น พบที่ผนังหลอดลม
      4) เนื้อเยื่อบุผิวเรียงตัวซ้อนกันหลายชั้นแบบยืดหยุ่น (transitional epithelium) เป็นเนื้อเยื่อบุผิว ที่ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวของเซลล์หลายชั้น โดยที่เซลล์สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ระหว่างเป็นแบบ squamous กับ cuboidal cell ขึ้นอยู่กับสภาพของอวัยวะ เช่น พบที่ผนังชั้นในของกระเพาะปัสสวะ
       1.2 เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue)  เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด แต่ละชนิดทำหน้าที่แตกต่างกันไป เซลล์อยู่กันอย่างหลวมๆ แต่มีเส้นใยมาประสานกันทำให้เกิดความแข็งแรงยิ่งขึ้น เช่น เนื้อเยื่อไขมัน
      1.3 เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ (muscular tissue)  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายและอวัยะวะต่างๆ จำแนกตามรูปร่างและโครงสร้าง เป็น 3 ประเภทคือ
      1) กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก (striated muscle หรือ skeletal striated muscle)
      2) กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) 
      3) กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)
        1.4 เนื้อเยื่อประสาท (nervous tissue)  เป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับสิ่งเร้า การตอบสนองต่อสิ่งเร้าและควบคุมการ ทำงานของอวัยวะ เนื้อเยื่อประสาทประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ 2 ประเภท คือ เซลล์ประสาท (neuron หรือ nerve cell) และเซลล์ค้ำจุต (glial cell หรือ supporting cell) ซึ่งเป็นเซลล์ทำหน้าที่ช่วยเหลือการทำงานของเซลล์ประสาท เช่น เซลล์ชวานน์ (schwann cell

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

อวัยวะ

อวัยวะ

อวัยวะ (อังกฤษOrgan) เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อที่อยู่รวมกันและทำหน้าที่เฉพาะร่วมกัน เนื้อเยื่อดังกล่าวแบ่งออกเป็นเนื้อเยื่อหลัก (main tissues) และเนื้อเยื่อที่กระจัดกระจาย (sporadic tissues) เนื้อเยื่อหลักคือเนื้อเยื่อที่พบเฉพาะในอวัยวะหนึ่งๆ เช่น เนื้อเยื่อหลักในหัวใจคือกล้ามเนื้อหัวใจ ในขณะที่เนื้อเยื่อกระจัดกระจายคือเนื้อเยื่อประสาทเลือดเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เป็นต้น

อวัยวะของสัตว์แก้ไข

อวัยวะของสัตว์ทั่วๆ ไป รวมทั้งมนุษย์ ได้แก่ หัวใจ(heart), ปอด (lung), สมอง (brain), ตา (eye), คอ(neck), กระเพาะอาหาร (stomach), ม้าม(spleen), กระดูก (bones), ตับอ่อน (pancreas),ไต (kidney), ตับ (liver), ลำไส้ (intestine), ผิวหนัง(skin) (ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในมนุษย์), มดลูก(uterus), และกระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) อวัยวะของสัตว์ที่อยู่ภายในร่างกายเรียกว่า อวัยวะภายใน (internal organ หรือ viscera)

อวัยวะของพืชแก้ไข

อวัยวะของพืชแบ่งออกเป็นอวัยวะที่ไม่เกี่ยวกับเพศ (vegetative organs) และอวัยวะสืบพันธุ์ (reproductive organ) อวัยวะที่ไม่เกี่ยวกับเพศได้แก่ ราก (root), ลำต้น (stem) และใบ (leaf) ส่วนอวัยวะสืบพันธุ์ ได้แก่ ดอก (flower), เมล็ด (seed), และ ผล (fruit)
อวัยวะที่ไม่เกี่ยวกับเพศมีความสำคัญในการดำรงชีวิตของพืช โดยทำหน้าที่ที่สำคัญต่อชีวิต เช่นการสังเคราะห์ด้วยแสง ในขณะที่อวัยวะสืบพันธุ์เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของพืช แต่ในการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ อวัยวะที่ไม่เกี่ยวกับเพศก็สามารถที่จะงอกเป็นพืชต้นใหม่ได้

ระบบอวัยวะแก้ไข

ดูบทความหลักที่: ระบบอวัยวะ
กลุ่มของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกันเรียกว่า ระบบอวัยวะ(organ system) อวัยวะในระบบเดียวกันอาจมีความสัมพันธ์ร่วมกันได้หลายทาง แต่มักจะมีลักษณะหน้าที่การทำงานเกี่ยวข้องกัน เช่น ระบบขับถ่ายประกอบด้วยอวัยวะหลายอย่างที่ทำหน้าที่ร่วมกันในการผลิต เก็บ และขับปัสสาวะออก
หน้าที่ของระบบอวัยวะมักจะมีหน้าที่ทับซ้อนกัน เช่น ไฮโปทาลามัส (hypothalamus) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ทั้งในระบบประสาท (nervous system) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ทำให้การศึกษาทั้งสองระบบมักจะทำร่วมกันเรียกว่าระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine system) เช่นเดียวกันกับ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (musculoskeletal system) ซึ่งเป็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อ (muscular system) และ ระบบโครงกระดูก (skeletal system)

รายชื่อระบบอวัยวะหลักๆ ในร่างกายมนุษย์แก้ไข

ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยระบบหลักๆ 11 ระบบ

อวัยวะของมนุษย์ แบ่งตามส่วนต่างๆ ของร่างกายแก้ไข

ศีรษะและคอ (Head & Neck)
หลัง (Back)

อก (Thorax)แก้ไข

ท้อง (Abdomen)แก้ไข

เชิงกราน และฝีเย็บ (Pelvis and perineum)แก้ไข

รยางค์บนและรยางค์ล่าง (Upper limbs/Lower limbs)แก้ไข

ดูเพิ่ม