วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ซี่โครง

ช่องท้อง

การตรวจร่างกาย ตอนที่ 41
Cr.https://www.doctor.or.th/article/detail/6150
 ประชาชนทั่วไปสามารถจะเรียนรู้การเป็นหมอรักษาตนเองและญาติมิตรได้ โดยเฉพาะโรคภัยไข้เจ็บที่พบอยู่บ่อย ๆ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70-80 ) จะรักษาได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือที่พิเศษพิสดารอะไร เรื่อง “มาเป็นหมอกันเถิด” มีเป็นประจำเพื่อชี้แจงวิธีที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองจนดูแลรักษาตนเองและผู้อื่นได้” 
      

การตรวจร่างกาย ตอนที่ 41
การตรวจตามระบบ
การตรวจท้อง
การตรวจท้องก็เช่นเดียวกันกับการตรวจระบบอื่นๆ ซึ่งอาจตรวจได้ด้วยการดู- คลำ- เคาะ- ฟัง เช่นเดียวกัน 
โดยทั่วไป มักจะแบ่งท้องออกเป็น
1.ส่วนหน้า   
หรือ     หน้าท้อง 
2.ส่วนหลัง 
  หรือ     หลังบริเวณเอว และ กระเบนเหน็บ
3.ส่วนข้าง 
   หรือ     สีข้างส่วนเอว

 
ท้องส่วนหน้า
ส่วนหน้า หรือ หน้าท้องมักแบ่งออกเป็น 9 ส่วน (ดูรูปที่ 1) โดย
ก. เส้นดิ่ง 2 เส้น ( เส้นที่ 1 และ 2 ในรูป) ซึ่งเป็นเส้นที่อยู่ตรงกลางระหว่างปุ่มกระดูกที่ปีกเชิงกรานหน้า( anterior superior iliac spine ) กับเส้นกลางตัวแนวดิ่ง( เส้น----ตรงกลางที่ผ่านสะดือในรูป) หรืออาจจะเรียกว่า เส้นใกล้กลาง ( paracentral line )โดยเส้นนี้จะอยู่ประมาณขอบนอกขอบนอกของกล้ามเนื้อกลางหน้าท้อง ( rectus abdominis muscles )

ข. เส้นขวาง 2 เส้น ( เส้นที่ 1 และ 2 ในรูป) ซึ่งเส้นบน (เส้นที่ 1 ) คือเส้นในแนวขวางที่ผ่านจุดต่ำสุดของชายโครงทั้ง 2 ข้าง เส้นชายโครง ( subcostal plane ) ส่วนเส้นข้าง ( เส้นที่ 2 ) คือ เส้นในแนวขวางที่ผ่านปุ่มกระดูกเชิงกราน ด้านหน้า ( anterior superior iliac spine ) ซึ่งอาจเรียก่า เส้นปุ่มกระดูก ( transtubercular plane )ในบางแห่ง เส้นบน ( เส้นชายโครง ) อาจเปลี่ยนใช้เป็นเส้นกลางตัวแนวนอน ( transpyloric plane ) ซึ่งจะตัดผ่านกลางตัวระหว่างรอยบุ๋มเหนือกระดูกกลางหน้าอก( gular notch หรือ sternal notch) กับกระดูกหัวหน่าว ( symphysis pubis ) ซึ่งเส้นนี้จะผ่านส่วนปลายของกระเพาะอาหาร ( pylorus ) ลำไส้เล็กส่วนต้น ( first past of duodenum )ตับอ่อน ( pancreas )ขั้วไต (hilum of kidney ) ซ้ายซึ่งอยู่สูงกว่าระดับเส้นเล็กน้อยกับขั้วไตขวา ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับเส้นเล็กน้อย

    

ถ้าใช้เส้นกลางตัวแบ่งส่วนของหน้าท้อง หน้าท้องส่วนที่ 1 และที่ 3 ( hypogastic regions )จะลอยขึ้นมาอยู่บนผนังหน้าอกส่วนล่าง
จึงขอใช้เส้นชายโครงแทนการใช้เส้นกลางตัวแนวนอนในการแบ่งส่วนหน้าท้อง
โดยเส้นดิ่ง 2 เส้น และเส้นขวาง 2 เส้น เหล่านี้หน้าท้องจะถูกแบ่งออกเป็น 9 ส่วน โดยต่ละส่วนจะมีอวัยวะสำคัญๆ (ดูรูปที่ 2 ) คือ
 
ส่วนที่ 1 หรือจะเรียกว่า ส่วนใต้ชายโครงขวา ( right hypochondriac region )
อวัยวะนี้มีความสำคัญคือ ตับ ( ชึ่งรวมถึงถุงน้ำดี และท่อน้ำดี ) ความเจ็บปวดในบริเวณใต้ชายโครงขวา จึงทำให้นึกถึง โรคตับอักเสบ โรคฝีในตับ โรคนิ่วในถุงหรือท่อน้ำดี โรคถุงน้ำดีอักเสบ เป็นต้น
แต่การอักเสบของอวัยวะที่อย่าใกล้เคียงกับส่วนนี้ เช่น โรคกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยเฉพาะลำไส้เล็กส่วนต้น และลำไส้ใหญ่ด้านขวา ซึ่งรวมถึงไส้ติ่ง ( ไส้ตัน ) ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดร้าวมาที่ส่วนนี้ได้

นอกจากนั้น ความเจ็บปวดในอวัยวอื่นที่ไม่ได้อยู่ในชิ่งท้อง ก้อาจจะทำให้เกิดความเจ็บปวดในส่วนนี้ได้ เช่น โรคปอดขวาส่วนล่างอักเสบ โรคเยื่อหุ้มปอดขวาอักเสบ เป็นต้น แม้ว่าส่วนหนึ่งของไตขวาจะอยู่ในส่วนนี้ แต่ไตเป็นอวัยวะที่อยู่ด้านหลังและอยู่นอกช่องท้อง ( extraperitinealorgan ) ความเจ็บปวดที่ไตจึงไม่ค่อยจะทำให้เกิดความเจ็บปวดในบริเวณหน้าท้อง แต่อาจร้าวลงมาปวดที่บั้นเอว และที่ท้องน้อยตรงกระเพาะปัสสาวะได้

 

 ส่วนที่ 2 หรือจะเรียกว่า ส่วนลิ้นปี่ หรือส่วนยอดอก ( epigastric region )
ส่วนนี้มีอวัยวะที่สำคัญคือ ตับ กระเพาะอาหาร ลำไส้ส่วนต้น ( duodenum ) และบางส่วนของตับอ่อน
( pancreas ) ความเจ็บปวดในส่วนนี้ จึงทำให้นึกถึง โรคของตับต่างๆดังที่กล่าวไว้ในส่วนที่ 1 แต่เนื่องจากตับส่วนใหญ่อยู่ใต้ชายโครงขวา ความเจ็บปวดที่เกิดจากตับจึงมักจะเจ็บปวดที่ส่วนใต้ชายโครงขวามากกว่าที่ส่วนยอดอกนี้ ความเจ็บปวดในส่วนนี้ส่วนเดียวจึงทำให้นึกถึงโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้นอักเสบ หรือเป็นแผล โรคตับอ่อนอักเสบเป็นต้น

แต่ความเจ็บปวดของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับส่วนนี้ เช่น ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดร้าวมาที่ส่วนนี้ได้ นอกจากนั้น ความเจ็บปวดในอวัยวะอื่นที่ไม่ได้อยู่ในช่องท้องก็อาจจะทำให้เกิดความเจ็บปวดในส่วนนี้ได้ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะทำให้เกิดอาการจุกแน่นหรือเสียดในส่วนลิ้นปี่หรือส่วนยอดอกนี้ได้เช่นเดียวกัน
แม้ว่าส่วนหนึ่งของไตซ้ายและขวาจะอยู่ในส่วนนี้ แต่ไตเป็นอวัยวะที่อยู่ด้านหลัง และอยู่นอกช่องท้องความเจ็บปวดที่ไตจึงไม่ค่อยทำให้เกิดอาการเจ็บปวดส่วนลิ้นปี่หรือส่วนยอดอกนี้
 
ส่วนที่ 3 หรือเรียกว่า ส่วนใต้ชายโครงซ้าย ( left hypochondriac region ) 
ส่วนนี้มีอวัยวะที่สำคัญคือ กระเพาะอาหาร ม้าม และลำไส้ใหญ่ส่วนบนมุมซ้าย ความเจ็บปวดในส่วนนี้ จึงทำให้นึกถึงโรคกระเพาะอาหาร ม้าม ลำไส้ใหญ่ส่วนบนมุมซ้ายแต่ความเจ็บปวดของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับส่วนนี้ เช่น ลำไส้เล็ก ก็ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดร้าวมาที่ส่วนนี้ได้

นอกจากนั้น ความเจ็บปวดในอวัยวะอื่นที่ไม่ได้อยู่ในช่องท้องก็อาจจะทำให้เกิดความเจ็บปวดในส่วนนี้ได้ เช่น โรคปอดซ้ายส่วนล่างอักเสบ โรคเยื่อหุ้มปอดซ้ายอักเสบ เป็นต้น แม้ว่าส่วนหนึ่งของไตซ้ายจะอยู่ในส่วนนี้ แต่ไตเป็นอวัยวะที่อยู่ด้านหลังและอยู่นอกช่องท้อง ความเจ็บปวดที่ได้จึงไม่ค่อยทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่ใต้ชายโครงซ้าย
 
ส่วนที่ 4 หรือเรียกว่า ส่วนเอวขวา ( right lumbar region ) 
ส่วนนี้มีอวัยวะที่สำคัญคือ ลำไส้ใหญ่ขวา และลำไส้เล็ก ความเจ็บปวดในส่วนนี้จึงทำให้จึงทำให้นึกถึงโรคลำไส้ใหญ่ขวา และลำไส้เล็ก แต่ความเจ็บปวดของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับส่วนนี้ เช่น ไส้ติ่ง ตับ ถุงน้ำดี รังไข่ และปีมดลูกขวา ก็อาจจะปวดร้าวมาที่ส่วนนี้ได้
นอกจากนั้น ความเจ็บปวดในอวัยวะอื่นเช่น ไตขวา ตับอ่อน ก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวดร้าวมาที่ส่วนนี้ได้ ความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อด้านข้างของผนังท้อง เพราะออกกำลังหน้าท้องมากเกินไป ไอหรือจามมากเกินไป หัวเราะมากเกินไป กระดูกหลังกดทับเส้นประสาท หัวเราะมากเกินไป


ส่วนที่ 5 หรือจะเรียกว่า ส่วนสะดือ ( umbilical region )
ส่วนนี้มีอวัยวะที่สำคัญคือ ลำไส้ใหญ่ส่วนกลางและลำไส้เล็ก ความเจ็บปวดในส่วนนี้ จึงทำให้นึกถึง โรคของลำไส้ใหญ่ส่วนกลางและลำไส้เล็ก แต่ความเจ็บปวดของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับส่วนนี้ เช่น ความเจ็บปวดของอวัยวะอื่นๆ ในช่องท้องทั้งหมด อาจจะปวดร้าวมาที่ส่วนนี้ได้จนในบางครั้ง แม้ว่าอวัยวะนั้นจะอยู่ในส่วนอื่น แต่อาการเจ็บปวดอาจจะเริ่มรู้สึกที่ส่วนสะดือนี้ก็ได้ เช่น อาการของไส้ติ่งอักเสบอาจจะเริ่มรู้สึกที่สะดือนี้

ในบางคนโดยเฉพาะในเด็กอาการเจ็บปวดในช่องท้องทั้งหมดอาจจะรู้สึกว่าปวดในบริเวณสะดือนี้ ดังนั้นถ้าถามคนไข้เหล่านั้นว่า เจ็บตรงท้องส่วนไหน ให้ชี้ให้ดู เขาจะชี้ไปตรงที่สะดือทุกครั้ง ในกรณีเช่นนี้จะรู้ว่าคนไข้เจ็บที่ท้องส่วนไหนแน่ ก็โดยการคลำและกดดูเบาๆในส่วนท้องต่างๆส่วนไหนที่กดเจ็บที่สุดมักจะแสดงว่าความผิดปกติอยู่ที่ส่วนนั้น

   

ส่วนที่ 6 หรือเรียกว่า ส่วนเอวซ้าย ( left lumbar region )
ส่วนนี้มีอวัยวะที่สำคัญคือ ลำไส้ใหญ่ซ้าย และลำไส้เล็ก ความเจ็บปวดในส่วนนี้จึงทำให้จึงทำให้นึกถึงโรคลำไส้ใหญ่ซ้าย และลำไส้เล็ก แต่ความเจ็บปวดของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับส่วนนี้ เช่น กระเพาะ อาหาร ม้าม รังไข่ และปีกมดลูกซ้ายก็จะปวดร้าวมาที่ส่วนนี้ได้ ม้ามหรือรังไข่ที่โตมากๆก็อาจจะย้อยลงมาหรือลอยขึ้นมาอยู่ในส่วนนี้ได้

นอกจากนี้ความเจ็บปวดในอวัยวะอื่นๆ เช่น ไตซ้าย ตับอ่อน ก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวดร้าวมาที่ส่วนนี้ได้ ความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อด้านข้างของผนังท้อง เพราะออกกำลังกายหน้าท้องมากเกินไป ไอหรือจามมากเกินไป กระดูกหลังกดทับเส้นประสาท ก็มักจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดในส่วนนี้ได้

 
ส่วนที่ 7 หรือเรียกว่า ส่วนท้องน้อยขวา ( right iliac region )
ส่วนนี้มีอวัยวะที่สำคัญคือ กระเปาะลำไส้ใหญ่( caecum ) ไส้ติ่ง (appendix ) และลำไส้เล็กส่วนปลาย (terminal ileum ) ความเจ็บปวดในส่วนนี้จึงทำให้จึงทำให้นึกถึงโรคของกระเปาะลำไส้ใหญ่ ไส้ติ่ง และลำไส้เล็กส่วนปลาย
แต่ความเจ็บปวดของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับส่วนนี้ เช่น ลำไส้ใหญ่ขวา ลำไส้เล็ก รังไข่ และปีกมดลูกขวา ก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวดร้าวมาที่ส่วนนี้ได้ รังไข่ที่โตมากๆก็อาจจะลอยขึ้นมาอยู่ในส่วนนี้ได้

  
 
ส่วนที่ 8 หรือเรียกว่า ท้องน้อยส่วนกลาง ( suprapubic region )
ส่วนนี้มีอวัยวะที่สำคัญคือ กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ส่วนทวารหนัก และลำไส้เล็ก ความเจ็บปวดในส่วนนี้จึงทำให้จึงทำให้นึกถึง โรคของกระเพาะปัสสาวะ รวมทั้งท่อไตที่มาเปิดเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ส่วนทวารหนัก

แต่ความเจ็บปวดของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับส่วนนี้ เช่น ไส้ติ่ง ปีกมดลูกซ้ายและขวา และมดลูกก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวดร้าวมาที่ส่วนนี้ได้ความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อกลางหน้าท้องเพราะออกกำลังกายหน้าท้องมากเกินไป ไอหรือจามมากเกินไป หัวเราะมากเกินไป อวัยวะเพศอักเสบ ก็มักจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดในส่วนนี้ได้

     

ส่วนที่ 9 หรือเรียกว่า ท้องน้อยซ้าย ( left iliac region)
ส่วนนี้มีอวัยวะที่สำคัญคือ ลำไส้ใหญ่ซ้าย และลำไส้เล็ก ความเจ็บปวดในส่วนนี้จึงทำให้จึงทำให้นึกถึง โรคลำไส้ใหญ่ซ้าย และลำไส้เล็ก
แต่ความเจ็บปวดของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับส่วนนี้ เช่น รังไข่ และปีกมดลูกซ้าย ก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวดร้าวมาที่ส่วนนี้ได้ รังไข่ที่โตมากๆก็อาจจะลอยขึ้นมาอยู่ในส่วนนี้ได้

    
 
ท้องส่วนหลัง
ส่วนหลัง หรือ หลังบริเวณเอว เริ่มตั้งแต่กระดูกซี่โครงซี่ที่ 12 ( ซี่ที่ต่ำที่สุด ) จนถึงปีกกระดูกเชิงกรานด้านหลัง ความเจ็บปวดในส่วนนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากความปวดเมื่อของกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งเกิดจาการทำงานก้มๆเงยๆ หรือใช้หลังนานมากเกินไป เช่น ไปก้มยกของหนักๆ หรือบิดตัวผิดท่า ทำให้กระดูกหลังหรือหมอนรองกระดูกหลังเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาททำให้เกิดความเจ็บปวดรุนแรงที่หลัง ที่สะโพก และอาจร้าวลงมาปวดที่ขาก็ได้

ความเจ็บปวดในส่วนนี้มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่เกิดจากโรคไตอักเสบรุนแรงจนปัสสาวะเป็นหนอง หรือเป็นนิ่วในไต หรือท่อไต ส่วนโรคไตอื่นๆ ส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บหรือปวดหลังในบริเวณเอวหรือกระเบนเหน็บเลย ความเจ็บปวดในส่วนนี้มีน้อยมากเท่านั้นที่เกิดจากโรคตับอ่อนอักเสบ ซึ่งมักจะเกิดในคนที่ดื่มสุราจัดหรือเป็นนิ่วในท่อน้ำดี เป็นต้น
 
ท้องส่วนข้าง
ส่วนข้าง หรือสีข้างส่วนเอวคือส่วนตรงด้านข้างระหว่างส่วนหน้า ( หน้าท้อง ) กับส่วนหลัง ( หลังบริเวณเอว )

ความเจ็บปวดในส่วนนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากความปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อข้างท้อง ซึ่งเกิดจาการทำงานหรือออกกำลังกายมากเกินไป การไอ จาม หรือหัวเราะมากเกินไป กระดูกหลังกดทับเส้นประสาท หรือการระบบของผนังท้องด้านข้างจากสาเหตุอื่น

นอกจากนั้น ในบางครั้ง คนที่เป็นนิ่วในท่อไต หรือไตอักเสบรุนแรงจนปัสสาวะเป็นหนอง อาจจะมีอาการปวดร้าวลงมาในส่วนนี้ได้.
 
( อ่านต่อฉบับหน้า )

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

กระดูกแกน


กระดูกแกนกลาง



กระดูกศีรษะ (Bone of the skull)

กระดูกกะโหลกศีรษะ (Cranium)มีลักษณะคล้ายลูกมะพร้าว ภายในบรรจุสมอง ประกอบด้วยกระดูก 8 ชิ้น ได้แก่
1. กระดูกหน้าผาก (Frontal bone)เป็นกระดูกแบน 1 ชิ้น มีลักษณะเป็นแผ่นแบนหนาอยู่ที่ส่วนหน้าของศีรษะ ประกอบเป็นหน้าผากและเป็นหลังคาของเบ้าตา ภายในกระดูกมีโพรงอากาศแห่งอยู่เหนือขอบตาเรียกว่า โพรงอากาศหน้าผาก (Frontal sinuses)






2. กระดูกข้างศีรษะ (Parietal bone)เป็นกระดูกแบน 2 ชิ้น มีลักษณะเป็นแผ่นแบบโค้งไปติดกับกระดูกหน้าผากทางด้านหน้า และด้านหลังติดกับกระดูกท้ายทอย ตรงกลางของกระดูกทั้ง 2 ชิ้นจะเชื่อมกันประกอบเป็นหลังคาของกะโหลกศีรษะ

3. กระดูกท้ายทอย (Occipital bone)เป็นกระดูกแบนชิ้น ใหญ่ 1 ชิ้น อยู่ทางด้านหลังของกะโหลกศีรษะ ประกอบเป็นฐานของกะโหลกศีรษะทางด้านหลังที่ส่วนล่างมีช่องใหญ่ เรียกว่าForamen magnum ช่องใหญ่นี้เป็นทางผ่านของไขสันหลังซึ่งติดต่อกับสมอง และยังมีเส้นเลือดและเส้นประสาททอดผ่านด้วย

4. กระดูกขมับ (Temporal bone)เป็นกระดูกรูปแปลก เป็นแผ่นแบนบาง 2ชิ้น ประกอบเป็นผนังด้านข้างของกะโหลกศีรษะ กระดูกขมับอันหนึ่ง แบ่งออกเป็น 4 ชิ้น
  • 4.1 Squamous portion เป็นส่วนที่บางหรือยื่นข้างบนบริเวณหลังใบหูหรือทัดดอกไม้
  • 4.2 Petrous portion เป็นส่วนที่แข็ง ลักษณะเป็นสามเหลี่ยมชี้เข้าไปข้างในทางด้านหน้ากระดูกขมับส่วนนี้มีอวัยวะเกี่ยวกับการได้ยินทั้ง 7 อยู่ภายใน
  • 4.3 Mastoid portion เป็นปุ่มกลมยื่นไปข้างหลังช่องหูและใบหูที่เรียกว่ากกหู(Mastoid process)
  • 4.4 Tympanic portion เป็นส่วนที่อยู่ใต้ Squamous portion และข้างหน้าMastoid process ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของช่องหูติดกับหูส่วนใน

5. กระดูกรูปผีเสื้อ (Sphenoid bone)เป็นกระดูกรูปแปลก มีลักษณะคล้ายผีเสื้อประกอบด้วยส่วนลำตัว (Body)ปีกเล็กและปีกใหญ่ ประกอบกันเป็นพื้นฐานของกะโหลกศีรษะมีแอ่งตื้นอยู่ที่ส่วนลำตัว เรียกว่า Sella turcica ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งของต่อมใต้สมอง(Pituitary gland or Hypophysis)

6. กระดูกข้อจมูกหรือกระดูกใต้สันจมูก(Etmoid bone) เป็นกระดูกรูปแปลก แผ่นบางโปร่งพรุน ประกอบด้วยแผ่นตั้งฉากและแผ่นแนวนอนตามพื้นราบ และแผ่นด้านข้าง อีก 2 แผ่น แผ่นที่ตั้งฉากจะก่อให้เกิดเป็นส่วนหนึ่งของผนังกั้นช่องจมูก (Nasal septum) ส่วนที่ยื่นของแผ่นตามพื้นราบเป็นขอบเขตของหลังคาของโพรงจมูก มีรูเล็กๆให้ประสาทสัมผัสกลิ่น (Olfactory nerve) ผ่านเข้าไปในสมองกระดูกหน้า(Facial bones) เป็นกระดูกที่ประกอบเป็นโครงของใบหน้า มีทั้งหมด 14 ชิ้น

กระดูกหน้า มีหน้าที่ห่อหุ้มอวัยวะสัมผัสพิเศษได้แก่ ตา จมูก และหู นอกจากนี้กระดูกหน้ายังทำหน้าที่ห่อหุ้มช่องเปิดของระบบสำคัญของร่างกายได้แก่ ระบบทางเดินอาหาร และระบบหายใจ กระดูกต่างๆ
ของกระดูกหน้า ได้แก่

1. กระดูกสันจมูก (Nasal bone) เป็นกระดูกแบบ 2 ชิ้น ประกอบกันเป็นสันจมูก ส่วนบนติดต่อกับกระดูกหน้าผาก และด้านข้างติดกับกระดูกขากรรไกรบน

2. กระดูกแบ่งกั้นโพรงจมูกส่วนล่าง(Vomer bone) เป็นกระดูกแบน 1 ชิ้น ประกอบกันเป็นสันจมูกข้างในกั้นช่องจมูกทั้ง 2 ข้าง

3. กระดูกข้างในจมูก (Inferior nasal concha) เป็นกระดูกรูปแปลก 2 ชิ้น มีลักษณะเป็นเกลียวอยู่ที่ผนังด้านข้างของช่องจมูก


4. กระดูกข้างถุงน้ำตา (Lacrimal bones) เป็นกระดูกแบนชิ้นเล็ก 2 ชิ้น ตั้งอยู่ที่โคนของจมูกใกล้ด้านในของเบ้าตา กระดูกนี้ช่วยทำเป็นร่อง(Groove) เพื่อเป็นที่ตั้งของถุงน้ำตา เป็นกระดูกที่บางมาก

5. กระดูกโหนกแก้ม (Zygomatic or Malar bone) เป็นกระดูกรูปแปลกมี 2ชิ้น ประกอบกันเป็นส่วนนูนของแก้มด้านนอกและพื้นที่ของเบ้าตาด้วย ส่วนโค้งของกระดูกโหนกแก้มจะยื่นไปข้างหลังติดต่อกับ Zygomatic process ของกระดูกขมับ

6. กระดูกเพดาน (Palatine bone)เป็นกระดูกรูปแปลก 2 ชิ้น ส่วนบนประกอบเป็นผนังล่างของเบ้าตา ส่วนล่างกระดูกทั้ง 2 ชิ้นจะมาชิดติดกัน ประกอบเป็นเพดานปาก (Palate) ส่วนที่กระดูก 2 ชิ้นมาต่อกันนี้ทำให้เป็นพื้นของช่องจมูกด้วย


7. กระดูกขากรรไกรบน (Maxilla bone) เป็นกระดูกรูปแปลกมี 2 ชิ้น มาบรรจบกันข้างหน้าตรงกลางใต้ช่องจมูก อาจเรียกว่า Upper jaw กระดูกขากรรไกรบนมีโพรงอากาศใหญ่ เรียกว่าMaxillary sinuses ซึ่งเปิดสู่จมูก ที่ริมล่างของกระดูกนี้เป็นบ่อเล็กๆ สำหรับให้รากฟันฝังอยู่ เรียกว่าTooth socket or Alveolus และส่วนหน้าด้านในของกระดูกประกอบเป็นเพดานแข็งของปาก(Hard plate) ถ้ากระดูกขากรรไกรบนนี้ไม่ติดกันทั้ง 2 ข้างก่อนคลอด จะทำให้เกิดช่องโหว่ตรงกลาง เรียกว่า เพดานโหว่ (Cleft palate)


กระหม่อมเด็ก (Fontanelle)
กระหม่อมเด็กเป็นบริเวณทีกระดูกกะโหลกยังเชื่อต่อกันไม่สนิท มีเพียงแผ่นเนื้อเยื้อ ปิดกั้น
ระหว่างหนังศีรษะและสมอง กระหม่อมเด็กมีหลายตำแหน่งได้แก่
1. กระหม่อมหน้า (Anterior fontanelle) ปิดเชื่อมเป็น Suture เมืออายุประมาณ 2 ขวบ
2. กระหม่อมหลัง (Posterior fontanelle)ปิดเชื่อมเป็น Suture เมืออายุประมาณ 2เดือน
3. กระหม่อมข้างด้านหน้า (Anterolateral fontanelle) และกระหม่อมข้างด้านหลัง
(Posterolateral fontanelle) ปิดเชื่อมเป็นSuture เมืออายุ 2 – 3 เดือน



รอยต่อของกะโหลกศีรษะ(Suture)
1. Sagittal suture เป็นรอยต่อตรงกลางศีรษะระหว่างกระดูกกระดูกข้างศีรษะ(Parietal
bones) ทั้ง 2 ชิ้น
2. Coronal suture เป็นรอยต่อข้างหน้าระหว่างกระดูกหน้าผาก (Frontal bone) และกระดูก
ข้างศีรษะ (Parietal bone)
3. Squamous suture เป็นรอยต่อด้านข้างระหว่างกระดูกข้างศีรษะ (Parietal bone)และ
กระดูกขมับ (Temporal bone)
4. Lomboidal suture เป็นรอยต่อระหว่างกระดูกท้ายทอย (Occipital bone) กับกระดูกข้าง
ศีรษะ (Parietal bone)


กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone)
ป็นกระดูกรูปแปลก มีรูปคล้ายเกือกม้า ตั้ง อยู่ทีโคนลิ้นข้างหน้าของคอเหนือลูกกระเดือก
(Adam’s apple) กระดูกนี้ลอยอยู่เฉยๆไม่ได้ติดต่อกับกระดูกอื่นเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อลิ้น และ
กล้ามเนื้อมัดอื่นด้วย

กระดูกลำตัว (Axial skeletal)
ประกอบด้วยกระดูก 51 ชินได้แก่
1. กระดูกหน้าอก (Sternum or Breast bone) กระดูกหน้าอกเป็นกระดูกส่วนกลางทางด้าน
หน้าของทรวงอก เป็นที่ยึดเกาะของกระดูกอ่อนของซี่โครง (Costal cartilage) มีรูปร่างแบน แบ่งเป็น 3
ส่วนได้แก่ ส่วนบนเรียก Manubrium มีรอยต่อกับปลายกระดูกไหปลาร้า (Clavicle) และกระดูกซี่โครง
คู่ที่ส่วนกลางเรียก Body ระหว่างManubrium กับ Body มีรอยติดต่อกับกระดูกอ่อนของซี่โครงคู่ที่
และตรงรอยต่อระหว่าง Manubrium กับBody ก่อให้เป็นมุมนูนขึ้นมา เรียก Sternum angle ซึ่งจะ
มองเห็นในคนที่มีรูปร่างผอม และส่วนล่างเรียกXiphoid process หรือที่เรียกว่า ลิ้น ปี่ ปลายเรียว
แหลม
ส่วนต่างๆของกระดูกหน้าอกนี้ในเด็กยังเป็นกระดูกอ่อน และเมื่ออายุประมาณ 25 ปี จึงจะเป็น
กระดูกชิ้นเดียว
2.กระดูกซี่โครง (Ribs or Costal bones)เป็นกระดูกแบนและยาวโค้ง มี 12 คู่ หรือ 24 ซี่
แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้
2.1 ซี่โครงแท้ (True or Vertebrosternal ribs) เพราะมี Costal cartilage มาเชื่อมกับ
กระดูกหน้าอก ได้แก่ กระดูกซี่โครงคู่ที่1 – 7
2.2 ซี่โครงไม่แท้ (False or Vertebrocostal ribs) เพราะปลายหน้าไม่ได้ติดกับ
หน้าอกโดยตรง กระดูกซี่โครงคู่ที่8 – 10 มีCostal cartilage แล้วไปเกาะติดกับ Costal cartilage ของ
กระดูกซี่โครงคู่ที่7                                                                                                                                                  
2.3 ซี่โครงลอย (Floating ribs) กระดูกซี่โครงคู่ที่11 – 12 ปลายหน้าของกระดูก
ซี่โครงไม่มีกระดูกอ่อนและไม่ได้เชื่อมต่อกับกระดูกหน้าอก
ระหว่างกระดูกซี่โครงแต่ละซี่จะมีช่องว่างทัง7หมด 11 ช่อง เรียก Intercostal space มีไว้ให้
กล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงยึดเกาะ


3. กระดูกสันหลัง (Vertebrae column)เป็นกระดูกรูปแปลก ประกอบกันเป็นแกนลำตัวมี 26
ชิ้น ในผู้ใหญ่ และ 33 ชิ้น ในเด็ก กระดูกสันหลังแต่ละชิ้น ต่อกันเป็นแนวยาว เรียกลำสันหลัง
(Vertebrae column) มีหน้าที่รองรับน้ำหนักร่างกาย และบรรจุไขสันหลัง (Spinal cord)หมอนรอง
กระดูกสันหลัง (Intervertebral disc) เป็นกระดูกอ่อนชนิด Fibrocartilage ที่คั่นและยึดระหว่างกระดูกสัน
หลังแต่ละชิ้น เป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย
ลักษณะทั่วไปของกระดูกสันหลังประกอบด้วย
ส่วนหน้าซึ่ง เป็นส่วนใหญ่ เรียกว่า Body
ส่วนหลังเป็นส่วนโค้ง เรียกว่า Vertebral arch ประกอบด้วย pedicle , laminae , transverse
processes และ spinous process (spine)
ส่วนของ Body และ Vertebral arch มาบรรจบกันเกิดเป็นช่องหรือรู เรียกว่าVertebral
foramen เป็นช่องให้ไขสันหลังทอดผ่าน ส่วนด้านข้างจะมีช่องเล็กๆอีกข้างละอัน เรียกTransverse
foramen ซึ่งเป็นทางผ่านของหลอดเลือดแดง





กระดูกสันหลังแบ่งออกเป็นส่วนๆ คือ
3.1 กระดูกสันหลังตอนคอ (Cervical vertebrae) มี 7 ชิ้น
กระดูกสันหลังตอนคอชิ้นที่เรียก Atlas มีลักษณะคล้ายวงแหวน ไม่ Body พื้น บนมี
รอยต่อกับ Condyle ของกระดูกท้ายทอย และพื้น ล่างมีรอยต่อกับกระดูกสันหลังตอนคอท่อนที .2
กระดูกชินนี้ทำหน้าที่ก้มศีรษะและเงยไปข้างหลัง
กระดูกสันหลังตอนคอท่อนที่เรียก Axisพื้น บนของ Body มีเดือย เรียก Odontoid
process เดือยนี้จะสวมอยู่ในกระดูก Atlasทำให้ศีรษะหมุนไปข้างๆได้ ส่วนพื้น ล่างมีBody ซึงจะต่อกับ
กระดูกสันหลังท่อนที่3
3.2 กระดูกสันหลังตอนอก (Thoracic vertebrae) มี 12 ชิ้น ส่วน Body ใหญ่ และแข็งแรง มี
ส่วนที่ต่อกับส่วนหัวของกระดูกซี่โครงมีTransverse process หนา ใหญ่และแข็งแรง ไม่มีรู แต่ที่
ข้างหน้ามีรอยติดต่อกับ tubercle ของกระดูกซี่โครงยกเว้นคู่ที่ 11 – 12 เท่านั้น Spinous process ยาว
และชี้ลงข้างล่าง
3.3 กระดูกสันหลังตอนเอว (Lumbar vertebrae) มี 5 ชิ้นส่วน Body ของกระดูกสันหลัง
ตอนเอวจะใหญ่ และแข็งแรงกว่าส่วนอื่นทั้งหมด
3.4 กระดูกสันหลังตอนก้นกบ (Sacral vertebrae) ในเด็กมี 5 ชิ้น ส่วนผู้ใหญ่มี 1ชิ้น
ลักษณะเป็นรูปแผ่นสามเหลี่ยม ส่วนล่างโค้งไปข้างหน้า ที่ด้านข้างมีรูเล็กๆหลายรูสำหรับให้เส้นประสาท
ทอดทะลุผ่าน กระดูกชิ้น นี้ประกอบเป็นผนังเบื้องหลังของอุ้งเชิงกราน
3.5 กระดูกปลายก้นกบ (Coccygeal vertebrae) เป็นกระดูก 4 ชิ้น เล็กๆในเด็ก แต่ในผู้ใหญ่
อาจรวมติดกันเป็นกระดูกแผ่นเดียว เป็นปลายสุดของกระดูกสันหลัง
โค้งกระดูกสันหลัง มีอยู่ 4 โค้งด้วยกัน คือ
โค้งตอนคอ (Cervical curve) จะแอ่นไปทางด้านหน้า (Anterior curve)
โค้งตอนอก (Thoracic curve) จะแอ่นไปทางด้านหลัง (Posterior curve)
โค้งตอนเอว (Lumbar curve) จะแอ่นไปทางด้านหน้า (Anterior curve)
โค้งตอนก้นกบ (Sacral curve) จะแอ่นไปทางด้านหน้า (Anterior curve)
การโค้งของกระดูกสันหลัง อาจผิดปกติไปได้ คือ ถ้ากระดูกสันหลังตอนอก โค้งไปทางด้านหลัง
มากกว่าปกติ เรียกว่า หลังโก่ง (Kyphosis or Humpback) ซึ่ง พบในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเป็นวัณโรคของ
กระดูก ถ้ากระดูกสันหลังตอนเอว แอ่นไปข้างหน้ามากกว่าปกติ เรียก Lordosis or Hollow back มักพบ
ในหญิงที่ตั้งครรภ์ แต่ถ้ากระดูกสันหลังโค้งไปข้างๆ (Lateral curvature) เรียก เอวคด(Scoliosis)


โดยมากมักโค้งไปข้างขวามากกว่าปกติ ในคนธรรมดาจะโค้งเล็กน้อย

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Bone

CR www.dek-d.com/board/view/2652805/
มาลงให้น้องๆดูวันนี้เป็น เบสิค อนาโตมี กระดูก skull นะครับ
เผื่อน้องๆ มอ ปลายคนไหน สนใจวิชาอนาโตมี หมอน้อยเลยอยากเอา เบสิคๆมาให้น้องๆชมกัน

สิ่งแรกที่น้องๆต้องเข้าใจก่อนเลยว่า กระดูกกระโหลก หรือ skull ของมนุษย์เรานั้น ไม่ได้เกิดจาก กระดูกเพียง 1-2 ชิ้นมาประกอบกัน แต่มันเกิดจากกระดูกมากเกือบ 30 ชิ้น ที่มาประกอบและอยู่ที่ กระโหลกของเรา

ในกระทู้นี้จะพยายามใช้คำง่ายๆในการอธิบาย เพือให้น้องๆเข้าใจได้ (ไม่เน้นศัพท์ทางคลินิก)
น้องๆที่สนใจ ยังไม่ต้องจำรายละเอียด ก็ได้นะ เก็บไว้ไปเรียนบ้าง ฮ่าๆ เดี๋ยวไม่มีอะไรเรียนในห้อง
จำเฉพาะชื่อ กระดูกชิ้นใหญ่ๆที่พี่ชี้ให้น้องเห็นก็เพียงพอแล้วครับ

   

ซึ่งเราแบ่งเป็นส่วนหลักๆ ได้ 2 ส่วน คือ กระดูกหุ้มสมอง กับ กระดูกใบหน้า

Tip : ควรจำเป็นภาษาอังกฤษเลย เพราะเวลาเรียน/ใช้จริง จะไม่ใช้ภาษาไทยในการเรียก


กระดูกหุ้มสมอง (Cranial Bones) (8 ชิ้น)

พี่คิดว่าตอนนี้ น้องๆอาจจะดูบางชิ้นส่วนไม่เข้าใจว่ามันอยู่ตรงไหนกันแน่ พวก frontal , parietal , temporal , occipital น้องๆคงดูออก (น้องๆเก่งอยู่ละ) แต่พวก ethmoid , sphenoid นี่สิ่ตัวดี ดูแล้วอาจจะ งงๆว่ามันชิ้นไหน กันแน่

นั้นลองดูรูปจากมุมอื่นๆดูนะ พี่ว่าน้องๆอาจจะหาย ข้องใจ(ห้ามผวน) กันเพิ่มขึ้น



รูปนี้ จะเห็น spenoid ง่ายขึ้น เมื่อเราผ่ากระโหลกในนอน แล้วเปิดออก ตรงกลางที่ มีรูปร่าง คล้ายผีเสื้อ มันคือชิ้นนั้นหละครับ

.
.
.
.

รูปนี้ คือ Ethmoid ที่น้องๆน่าจะเข้าใจตำแหน่งของมันมากขึ้น


กระดูกใบหน้า (Facial Bones) (14 ชิ้น)
คำตอบคือ แผ่นกั้นด้านบนมันเป็นส่วนหนึ่งของกระดูก ethmoid ครับ เค้าเรียกส่วนนั้นว่า perpendicula plate





ส่วนนี้พี่คิดว่าน้องๆน่าจะมองออกได้ง่าย เพราะรูปค่อนข้างชัดเจน

อ่อ ยกเว้น palatine (กระดูกเพดานปาก) ถ้ามองด้านนี้ มองให้ตายก็คงไม่เห็น คงต้องหงายกระโหลกเพื่อดูมัน





น้องๆเห็นหรือป่าวครับว่า เพดานแข็งของปาก hard palate เกิดจากกระดูก 2 ส่วนประกอบกัน Palatine bone กับ maxilla ถ้าเกิดมันไม่ต่อกันหล่ะ น้องๆพอนึกออกไหมว่า คนๆนั้นจะเป็นโรคอะไร
 (ถามง่ายไปป่าวหว่าเรา)

ก็เพดานปากมันแหว่งไป จะไปเป็นโรคจมูกแหว่งไม่ได้ฟร๊ะ คำตอบก็คือ ปากแหว่งเพดานโหว่ นั้นเอง