หัวใจ


โครงสร้างของหัวใจ
     หัวใจอยู่ในช่องอกเยื้องไปทางด้านซ้าย และยึดอยู่ในช่องอกโดยหลอดเลือดขนาดใหญ่
ที่อยู่ทางด้านป้านเป็นส่วนฐาน (base) ชี้ไปทางด้านแครนิโอ-ดอร์ซอล ด้านตรงกันข้ามเป็นปลายแหลม
เรียกว่า เอเพ็กซ์ (apex) ชี้ไปทางด้านเวนโทร-คัวดอล หัวใจมีโครงสร้างหลายส่วน
ได้แก่ ผนังหัวใจ ห้องหัวใจ และลิ้นหัวใจ (โครงสร้างภายนอกอยู่ในรูปที่ 1)
1. โครงสร้างผนังของหัวใจ โครงสร้างหลักของผนังหัวใจมี 3 ชั้นดังนี้
     1.1 ชั้นอีพิคาร์เดียม (epicardium) เป็นชั้นนอกสุด เป็นชั้นของเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium)
ซึ่งแยกเป็น 2 ชั้น ได้แก่ วิสเซอรอล เพอริคาร์เดียม (visceral pericardium) เป็นเยื่อซีรัส (serous
membrane) อยู่ชั้นใน และพับซ้อนต่อเนื่องออกมาที่บริเวณส่วนฐานของหัวใจเป็นส่วนของชั้นพาไรทอล
 เพอริคาร์เดียม (parietal pericardium) อยู่ชั้นนอก ชั้นนี้เป็นเยื่อเส้นใย ระหว่าง 2 ชั้นนี้เป็น
ช่องว่างมีของเหลวไส (serous fluid) ทำหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือน หรือเป็นเบาะเพื่อลดแรง
กระทบกระแทกในขณะที่หัวใจทำงาน (รูปที่ 8.7)
     1.2 ชั้นไมโอคาร์เดียม (myocardium) เป็นชั้นกลาง เป็นชั้นกล้ามเนื้อหัวใจเป็นส่วนใหญ่
แต่มีเนื้อเยื่อบางส่วนเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่นำคลื่นไฟฟ้าของหัวใจซึ่งมี 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นเซลล์
พิเศษทำหน้าที่สร้างคลื่นไฟฟ้า ได้แก่ ไซโนเอเทรียล โนด เป็นเซลล์เริ่มต้นการทำงาน
บางทีเรียกว่า โนดอล เซลล์ (nodal cells) เซลล์อีกกลุ่มหนึ่งไ
ด้แก่ เอตริโอเวนตริคิวลาร์ โนด (atrioventricular    
node ; A-V node) เป็นกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่นำคลื่นไฟฟ้าให้กระจายไปทั่วทั้ง
หัวใจเรียกว่า  ระบบเหนี่ยวนำพิเศษ (special conducting system)  ได้แก่ เอ-วี บันเดิล (A-V bundle)
 และเส้นใย
เพอร์คินเจ (Perkinje fiber) (รูปที่ 2-4)
     1.3 ชั้นในสุดเรียกว่า ชั้นเอนโดคาร์เดียม (endocardium)  เป็นชั้นเยื่อบุภายในผนังของหัวใจ
ประกอบด้วยเซลล์เอนโดทีเลียมบุไปถึงลิ้นหัวใจ และบุไปถึงผนังด้านในของหลอดเลือดรวมไปถึง
หลอดเลือดฝอยที่เหลือชั้นนี้เพียงชั้นเดียว ม้วนตัวประกอบกันเป็นท่อ



รูปที่ 1 รูปวาดโครงสร้างภายนอกของหัวใจ
(A), ผิวหน้าด้านเวนทรอล ; (B), ผิวหน้าด้านดอร์ซอล.
ที่มา ; ดัดแปลงจากจาก Martini (2006)




รูปที่ 2 รูปวาดหน้าตัดโครงสร้างผนังของหัวใจ
ที่มา ; ดัดแปลงจาก Martini (2006)
Figure 2 The drawing of surface cutting of heart wall.
Adapted from Martini (2006)
รูปที่ 3 รูปวาดรูปแบบโครงสร้างของถุงหุ้มหัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
(A), รูปวาดตัดถุงหุ้มหัวใจออกบางส่วน ; (B), รูปเปรียบเทียบกำมือที่กดลงบนลูก
โป่งเพื่อเปรียบเทียบกับถุงหุ้มหัวใจที่มี 2 ชั้นโดยกำมือเปรียบเสมือนหัวใจส่วนลูกโป่ง เปรียบเสมือนถุงหุ้มหัวใจ
ที่มา ; ดัดแปลงจาก Martini (2006)
2. ลักษณะห้องของหัวใจ หัวใจมี 4 ห้องคือ ห้องบน (atrium) ห้องบนผนังภายนอกมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อที่มีลักษณะหยุ่นตัวเรียกว่า ออริเคิล (auricle)  บางครั้งผู้เรียบเรียงบางคนจึงเรียก
ห้องบนว่า ออริเคิล ห้องบนแยกเป็นบนซ้ายและบนขวากับห้องล่าง (ventricle) ที่แยกเป็นซ้ายและขวาเช่นเดียวกัน โครงสร้างทั้งหมดถูกแยกโดยผนังและลิ้นของหัวใจ ได้แก่
     2.1 ผนังเอตริโอเวนตริคิวลาร์ (atrioventricular septum) และลิ้นเอ - วี (A - V valve ; cuspid valve ; atrioventricular valve) เป็นโครงสร้างที่แยกห้องบนกับห้องล่าง
     2.2 ผนังอินเตอร์เอเตรียล (interatrial septum) แยกห้องบนซ้ายกับห้องบนขวา และผนังอินเตอร์เวนตริคิวลาร์ (interventricular septum) แยกห้องล่างซ้ายกับห้องล่างขวา
รูปที่ 4  รูปวาดแสดงห้องหัวใจและระบบเหนี่ยวนำคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ
ที่มา ; ดัดแปลงจาก Agur and Dalley (2005)
ดูภาพเคลื่อนไหว2
     สำหรับลิ้นของหัวใจ (รูปที่ 5 A-6) ทำหน้าที่ควบคุมทิศทางการไหลของเลือดที่ผ่านเข้าหรือออกจากหัวใจ ได้แก่
     2.3 ลิ้นคัสปิดหรือลิ้นเอ-วี กั้นระหว่างห้องบนกับห้องล่างของหัวใจ ได้แก่ ลิ้นไบคัสปิด (bicuspid valve) บางครั้งเรียกว่า ลิ้นไมทรัล (mitral valve) กั้นห้องบนและห้องล่างทางซีกซ้าย  และลิ้นไตรคัสปิด
(tricuspid valve) กั้นห้องบนและห้องล่างซีกขวา (รูปที่ 5 B) ลิ้นทั้งสองถูกยึดโดยใยคอร์ดี เทนดินี (chordae tendineae) ซึ่งมีปลายอีกด้านหนึ่งยึดกับกล้ามเนื้อพาพิลลารี (papillary muscle)
(รูปที่ 5 D)     คอร์ดี เทนดินี ทำหน้าที่ยึดไม่ให้ลิ้นถูกผลักสู่ห้องบนเมื่อห้องล่างบีบตัว
     2.4 ลิ้นเซมิลูนาร์ (semilunar valve) ลิ้นชนิดนี้กั้นอยู่ตรงทางเปิดของหลอดเลือดที่อยู่ที่หัวใจห้องล่าง ได้แก่ ลิ้นพัลโมนารี (pulmonary valve) อยู่ที่ทางเปิดของหลอดเลือดพัลโมนารี อาร์เทอรี
(pulmonary artery) ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าห้องล่างขวา เมื่อห้องล่างขวาคลายตัว และลิ้นเอออร์ติก (aortic valve) อยู่ที่ห้องล่างซ้ายตรงทางเปิดของหลอดเลือดเอออร์ตา  ทำหน้าที่ป้องกัน
ลือดในหลอดเลือดเอออร์ตาไม่ให้ไหลย้อนกลับเข้าห้องล่างซ้ายเมื่อห้องล่างซ้ายคลายตัว (รูปที่ 5 C)


รูปที่ 5 รูปวาดแสดงลิ้นหัวใจ
(A), รูปวาดตัดขวาง (ด้านดอร์ซอล) แสดงลิ้นหัวใจ 4 ลิ้นปิด ;
(B), รูปถ่ายลิ้นไตรคัสปิดภายในหัวใจ (รูปด้านซ้ายลิ้นเปิด รูปด้านขวาลิ้นปิด) ;
(C), รูปถ่ายลิ้นเซมิลูนาร์ภายในหัวใจ (รูปด้านซ้ายลิ้นเปิด รูปด้านขวาลิ้นปิด) ;
(D), รูปถ่ายในหัวใจของคอร์ดี เทนดินี (1) และกล้ามเนื้อพาพิลลารี (2)
ที่มา ; (A) และ (B) ดัดแปลงจาก Carola และคณะ (1992) ;
         (C) และ (D) ดัดแปลงจาก Martini (2006)

รูปที่ 6  รูปวาดแสดงโครงสร้างของหัวใจและลิ้นหัวใจของคน (ตัดตามแนวแซกจิทอล)
































ที่มา ;  http://daisypuri.blogspot.com/2011/01/internal-structure-of-heart.html
                                                                             
ขอบคุณข้อมูลจาก:http://fat.surin.rmuti.ac.th/teacher/songchai/circulatory/structure%20of%20heart.htm

  
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น