วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ข้อต่อ

ประเภทของข้อต่อ
แบ่งตามโครงสร้างของข้อต่อ
  • Fibrous joint / Synarthroses ซึ่งไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
Sutures พบที่กะโหลกศีรษะเท่านั้น
Gomphosis ยึดระหว่างฟันกับกราม
synchondrosis พบบริเวณ Epiphyseal plate
  • Cartilagenous joint / Amphiarthroses ซึ่งสามารถเคลื่อนไหวได้บ้าง
Syndesmosis พบบริเวณส่วนปลายของกระดูก Tibia และ Fibula
Symphysis เชื่อมต่อกันด้วยกระดูกอ่อน
  • Synovial joint / Diarthroses ซึ่งสามารถเคลื่อนไหวได้ มรกระดูกอ่อนหุ้มผิวหน้าของข้อต่อ มีแคปซูลหุ้มข้อต่อ มีน้ำไขข้ออยู่ด้านในซึ่งนำอาหารมาเลี้ยงข้อต่อ เป็นสารหล่อลื่นข้อต่อ และสร้างความมั่นคงให้กับข้อต่อ
แบ่งตามการเคลื่อนไหวของข้อต่อ
  • ข้อต่อแบบเลื่อน (Gliding / Plane joint) ซึ่งผิวหน้าข้อต่อทั้งสองด้านค่อนข้างเรียบ ทำให้เกิดการเลื่อนไปมาระหว่างกระดูกได้เล็กน้อย
  • ข้อต่อแบบบานพับ (Ginglymus / Hinge joint) ซึ่งเป็นข้อต่อที่มีลักษณะคล้ายบานพับประตู ผิวหน้าข้อต่อด้านหนึ่งมีลักษณะกลม
ผิวหน้าข้อต่ออีกด้านหนึ่งมีลักษณะเว้าลองรับ เคลื่อยฃนไหวได้ทิศทางเดียว เป็นข้อต่อแบบแกนเดียว
  • ข้อต่อแบบไพวอท (Pivot joint) เป็นข้อต่อที่กระดูกสองชิ้นวางชิดกัน มีเอ็นยึดกระดูกคล้องรอบกระดูก มีการเคลื่อนที่แบบหมัน และเป็น
ข้อต่อแบบแกนเดียว
  • ข้อต่อแบบคอนดิลลอยด์ (Condylloid joint) ซึ่งผิวข้อต่อด้านหนึ่งเป็นทรงกลมหรือรูปไข่ ส่วนผิวข้อต่ออีกด้านหนึ่งเป็นทรงกลมรองรับ และ
เคลื่อนที่ได้สองทิศทาง
  • ข้อต่อแบบอานม้า (Sadle joint) ซึ่งผิวหน้าข้อต่อมีลักษณะคล้ายอานม้า เคลื่อนที่ได้สองทิศทาง เป็นข้อต่อแบบสองแกน
  • ข้อต่อแบบลูกบอลและเบ้า (Ball and Socket joint) ซึ่งผิวข้อต่อด้านหนึ่งมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายลูกบอล ส่วนผิวข้อต่อต่ออีกด้านหนึ่ง
มีลักษณะเป็นเบ้ารองรับ เคลื่อนที่ได้ตั้งแต่สามทิศทางขึ้นไป
หน้าที่ของข้อต่อ
  • กระจายน้ำหนักบนผิวหน้าของข้อต่อ
  • ดูดซับแรงกระแทก
  • กระชับข้อต่อ
  • จำกัดการลื่นไถลของผิวข้อต่อ
  • ป้องกันผิวหน้ากระดูกจากการเสียดสีกัน
  • เพิ่มความลื่นให้กับข้อต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น