วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การย่อยอาหาร

ระบบย่อยอาหาร digestive system
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhP2iGzTpB6WKtcB1k-qCw8905HJrSnoVN7edkMZeEIq3jtn9BoXSLFffMJS3MPLpgYbMNeL04F6lwCZJ_KwhFY1HFCvhmFzG-rteGqV2zw9aSJxfcij6-Hf5OFfZcLJ8JOLM0zZZdKMAQ/s1600/47.jpg
        การย่อยอาหาร คือ ขบวนการเปลี่ยนแปลงสารประกอบของอาหารในโมเลกุลขนาดใหญ่ให้เป็นสารประกอบของอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กพอที่จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและเซลล์ของร่างกายได้
 การย่อยอาหารมี 2 วิธี คือ
1.       การบดให้ละเอียด โดยใช้ฟันเคี้ยวซึ่งในคนเรามีฟันอยู่ 32 ซี่ ยื่นออกมาจากขากรรไกร ทั้งบนและล่าง ข้างละ 16 ซี่ ได้แก่ ฟันหน้า 4 ซี่ ฟันเขี้ยว 2 ซี่ กรามเล้ก 4 ซี่ และกรามใหญ่ 6 ซี่ การย่อยอาหารนั้นต้องใช้ลิ้นเป็นตัวช่วยในการคลุกเคล้าอาหารให้เข้ากัน
2.       การใช้น้ำยาหรือเอ็นไซม์ ช่วยทำให้อาหารเป็นโมเลกุลเล็กลงอีก



ปาก
https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTMsP9qlFszouKE3ex3x1T-BZOuCWPsPEcZ_DW0XfSsNkTjeDcF
            ปากเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารที่สำคัญ เพราะเป็นส่วนแรกของอาหารที่จะทำการย่อยให้โมเลกุลเล็กลง ปากเป็นอวัยวะที่มีช่องเปิดเข้าสู่ภายใน ซึ่งประกอบด้วย น้ำลาย ฟัน ลิ้น แผ่นเพดานอ่อน และลิ้นไก่
    อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับปากมีดังนี้ คือ
1. ริมฝีปากข้างแก้ม เป็นตัวเคลื่อนที่ช่วยในการบดอาหาร
2. ช่องแก้ม อยู่ระหว่างฟันกับแก้ม และฟันกับริมฝีปาก บริเวณที่มีต่อมน้ำลายใต้หู ซึ่งต่อมนี้จะส่งน้ำลายออกมาที่
   ช่องแก้มบริเวณกราม ดังนั้นเวลาเคี้ยวของเปรี้ยว ๆ จะรู้สึกปวดเนื่องจากน้ำลายออกมา
3. ต่อมน้ำลาย ภายในปาก มีต่อมน้ำลายอยู่ 3 คู่ คือ
3.1 ต่อมใต้ขากรรไกร อยู่ที่มุมของขากรรไกรล่าง มีท่อน้ำลายเปิดที่ใต้ลิ้น
3.2 ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น เป็นต่อมน้ำลายที่อยู่ใต้ลิ้นระหว่างด้านในของก้านกระดูกขากรรไกรล่าง มีท่อมา
     เปิดใต้ลิ้นเช่นกัน
3.3 ต่อมน้ำลายใต้กกหู มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่บริเวณกกหู มาเปิดที่บริเวณกรามหลังซีกล่าง ถ้าต่อมนี้ติด
      เชื่อจะเกิดการอักเสบ เราเรียกว่าโรคคางทูม


น้ำลาย
    น้ำลายจะมีน้ำเป็นประกอบอยู่ 99% และยังมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน และไนโตรเจนละลายอยู่ และมีของเหลวบางชนิด เช่น ฟอสเฟต เป็นต้น นอกจากนี้ในน้ำลายยังมีน้ำเมือกและน้ำย่อยที่ใช้ย่อยแป้ง มีชื่อเรียกเฉพาะว่า ไทยาลีน ช่วยย่อยแป้งที่สุกแล้วให้เป็นน้ำตาล ดังนั้นเมื่อกินอาหารพวกแป้งเช่น ข้าว จะรู้สึกว่า มีรสหวาน เพราะในน้ำลายมีน้ำย่อยที่ใช้ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล น้ำลายของคนเราจะหลั่งวันละ 1-1.5 ลิตรขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การนึกถึงอาหาร
    หน้าที่ของน้ำลาย คือ ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกแป้งให้เป็นน้ำตาล ช่วยให้อาหารอ่อนตัวเพื่อความสะดวกและหล่อลื่นอาหารในขณะจะกลืน ทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายต่าง ๆ เพื่อการรับรู้รสช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก ควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายและช่วยให้ปากเปียกชื้นอยู่เสมอ
     ฟัน  ในปากมีฟันสำหรับทำหน้าที่เคี้ยวอาหารเช่น กัด ฉีก แทะ หรือบดอาหาร ฟันจะเกิดก่อนกระดูกและไม่เกี่ยวข้องกับกระดูกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ฟันเป็นส่วนหนึ่งของทางเดินอาหาร
  ฟันประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้คือ
1. ตัวฟัน เป็นที่โผล่พ้นเหงือก
2. รากฟัน เป็นส่วนที่ฝังอยู่ในตัวเหงือก
3. คอฟัน เป็นส่วนที่คอดอยู่ระหว่างตัวฟันและรากฟัน
    ฟันคนเรามี 2 ชุด คือ
1. ฟันน้ำนม จะเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6-8 เดือน และครบเมื่ออายุ 2 ขวบ มีจำนวน 20 ซี่
2. ฟันแท้ เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6 ขวบ และจะครบ 32 ซี่เมื่ออายุ 18 ปีหรือขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละคน
ชนิดของฟันแท้ครึ่งปากล่างประกอบด้วย
1. ฟันตัด 4 ซี่
2. ฟันเขี้ยว 2 ซี่
3. ฟันกราม 4 ซี่
4. ฟันกรามหลัง 6 ซี่


คอหอยและหลอดอาหาร
http://f.ptcdn.info/982/019/000/1402466229-Untitled48-o.jpg
    คอหอย เป็นท่อซึ่งอยู่หลังหลอดลมและปากเป็นบริเวณที่อาหารและลมมาพบกัน ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของลมหรืออากาศ จากจมูกไปยังกล่องเสียง และเป็นทางผ่านของอาหารจากปากไปยังหลอดอาหารรวมทั้งเป็นตัวช่วยทำให้เกิดเสียง
    หลอดอาหาร เป็นหลอดต่อจากคอหอย อยู่หลังหลอดลมยาวประมาณ 9-10 นิ้ว ช่วงปลายของหลอดอาหารผ่านกระบังลมไปเปิดสู่กระเพาะอาหาร หลอดอาหารรับอาหารจากคอหอยไปสู่กระเพาะอาหารโดยการบีบรัดอาหารให้ไปทางเดียวโดยการบีดรัดตัวกล้ามเนื้อเรียบที่บีบตัวจะเป็นลูกคลื่นเพื่อไล่อาหารลงสู่กระเพาะอาหารต่อไป
กระเพาะอาหาร
https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRJtCwOqNOLdWJK9i5nam6EnAH6neRgCAYGAHlMQlzePXWBpvP7
    กระเพาะอาหารเป็นทางเดินอาหารซึ่งมีลักษณะเป็นถุงใหญ่ ภายในไม่เรียบมีลักษณะคล้ายลูกคลื่น กระเพาะอาหารของคนเราแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ


1. กระเพาะส่วนแรก อยู่ใกล้หัวใจ บริเวณส่วนต้นมีหูรูดอยู่ด้วย เอาไว้คอยกั้นอาหารในกระเพาะไม่ให้ไหลย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหาร
2. กระเพาะส่วนกลาง มีลักษณะเป็นกระพุ้งใหญ่
3. กระเพาะส่วนสุดท้าย ตรงปลายมีหูรูด คอยรูดกันไม่ให้อาหารไปสู่สำไส้เล็กเร็วเกินไป รูปร่างของกระเพาะอาหารเมื่อมองด้านบนพบว่า มีการงอโค้งอยู่ด้านหนึ่ง เพราะความยาวของกระเพาะอาหารทั้งสองด้านไม่เท่ากัน เมื่องดอาหารไปนาน  ๆ ปริมาตรของกระเพาะอาหารจะลดลงเหลือเพียง  50 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อมีอาหารเข้าไปแล้วกระเพาะอาหารจะมีขนาดใหญ่ขึ้นประมาณ 10-40 เท่า หรือประมาณ 500-2,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
ภายในกระเพาะอาหารมีต่อมสร้างน้ำย่อย เป็นต่อมสำหรับสร้างน้ำย่อย แล้วยังสามารถสร้างกรด น้ำเมือก รวมทั้งน้ำย่อยอีก 2 ชนิดทำหน้าที่ย่อยโปรตีนด้วย น้ำย่อย 2 ชนิดนี้เรียกกว่าเปปซิน และเรนนิน อาหารจะคลุกเคล้ากับน้ำย่อยในกระเพาะอาหารประมาณ 1-6 ชั่วโมง จึงถูกส่งผ่านเข้าลำไส้เล็กนักวิทยาศาสตร์พบว่า น้ำย่อยที่สร้างขึ้นจากต่อมในกระเพาะอาหารนี้ ครั้งแรกจะอยู่ในสภาพที่ยังไม่พร้อมที่จะทำงานได้ แต่เมื่อรวมกับกรดเกลือแล้ว น้ำย่อยจึงเปลี่ยนสภาพให้พร้อมที่จะย่อยอาหารได้
การย่อยในกระเพาะอาหาร
อาหารที่ถูกบดให้ละเอียดและอ่อนตัวลงแล้วก็จะเคลื่อนย้ายผ่านหลอดอาหารลงมาในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะทำหน้าที่ย่อยอาหารจำพวกโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ เอนไซม์ ที่สำคัญในกระเพาะอาหารมีดังนี้ คือ
1. กรดเกลือ    ย่อยโปรตีนได้
2. เปปซิน      จะย่อยโปรตีนที่ได้จากพืชและสัตว์ให้มีโมเลกุลเล็กลง
3. ไลเปส       จะย่อยอาหารได้ดีเมื่ออยู่ในสภาพที่เป็นกรด
4. เรนนิน        จะช่วยทำให้โปรตีนที่อยู่ในนมเกิดการแข็งตัวตกตะกอนภายหลังที่รวมตัวกับแคลเซี่ยม การย่อยอาหารโปรตีนในกระเพาะอาหารนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและการบีบตัวของกระเพาะอาหารด้วยบริเวณที่เกิดการย่อย
การบีบตัวของกระเพาะอาหาร
    การย่อยในกระเพาะอาหารนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและการบีบตัวของกระเพาะอาหารด้วยการบีบตัวของกระเพาะอาหารจะทำให้คลุกเคล้า บดอาหารให้เข้ากับน้ำย่อยได้ดีจนกลายสภาพเป็นของเหลวข้นที่มีฤทธิ์เป็นกรด หลังจากนั้นกระเพาะอาหารก็จะบีบตัวเคลื่อนย้ายอาหารผ่านกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะอาหารตอนล่าง เมื่ออาหารผ่านลงไปในลำไส้เล็ก ก็จะปิดทันที เพื่อมิให้น้ำดีไหลย้อนกลับเข้าไปในกระเพาะอาหารอย่างไรก็ตามกระเพาะอาหารจะไม่ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วแต่อย่างใด ยกเว้นสารเคมีบางชนิด เช่น แอลกอฮอร์ ยาบางชนิดที่เป็นกรดและน้ำ เป็นต้น


เอนไซม์คืออะไร
1.       เอนไซม์เป็นสารโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ช่วยให้เกิดปฏิกิริยาด้วยความเร็วสูงมาก หรือการแตกตัวของอาหารที่เป็นโมเลกุลใหญ่ ให้เป็นโมเลกุลเล็ก โดยใช้น้ำเป็นตัวทำปฏิกิริยา ปกติน้ำตาลมอลโตส ละลายน้ำแล้วจะทำให้เกิดปฏิกิริยาช้า แต่ถ้ามีเอนไซม์เข้ามาช่วยจะทำให้เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้นกลายเป็นน้ำตาลกลูโคสจำนวน 2 โมเลกุลจากผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า สิ่งมีชีวิตมีเอนไซม์หลายชนิดเอนไซม์แต่ละชนิดทำงานเฉพาะเจาะจง กล่าวคือ เอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาชนิดหนึ่งจะไม่สามารถไปเร่งปฏิกิริยาอื่น ๆ ได้
    ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเอนไซม์ ได้แก่ ความร้อน ความเป็นกรด ด่างเป็นต้น อาจทำให้โครงสร้างของเอนไซม์เปลี่ยนแปลงไปได้ จะทำให้ไม่สามารถเร่งปฏิกิริยาได้ ยกตัวอย่างเช่น เอนไซม์ชนิดหนึ่งเร่งปฏิกิริยาได้ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส แต่ถ้าหากว่าอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสเอนไซม์จะไม่มีความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาเลย
ฮอร์โมนคืออะไร
    ฮอร์โมนเป็นของเหลวประกอบด้วยสารพวกโปรตีนซึ่งผลิตขึ้นภายในร่างกายมีหน้าที่เป็นตัวเร่งหรือช่วยควบคุมการทำงานของต่อมหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ในกรณีเกี่ยวกับการย่อยอาหาร เมื่อเยื่อเมือกของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กซึ่งมีเซลล์พิเศษบุอยู่ถูกกระตุ้นด้วยอาหาร ร่างกายก็จะสร้างฮอร์โมนขึ้นมาแล้วฮอร์โมนเหล่านี้จะไหลเข้าสู่กระแสเลือด ไปออกฤทธิ์กระตุ้นให้ผนังกระเพาะอาหารผนังลำไส้และตับอ่อนผลิตน้ำย่อยออกมา และกระตุ้นให้ตับอ่อนปล่อยน้ำดีออกมา ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะเป็นตัวการที่จะทำให้กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ตับอ่อนและตับทำงานหรือหยุดทำงานแล้วแต่ว่ามันจะถูกสร้างขึ้นมาหรือไม่
     ต่อมพิทุอิตารี ซึ่งอยู่บริเวณใต้สมอง สร้างฮอร์โมนควบคุมต่อมไทรอยด์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญอาหารในร่างกาย


น้ำย่อยจากตับอ่อน
    ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญที่สุดในการย่อยอาหาร ทั้งนี้เพราะว่าตับอ่อนสร้างเอนไซม์ที่สามารถย่อยอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ทั้ง 3 กลุ่ม คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรท และไขมันได้เป็นอย่างดี ตับอ่อนจะสร้างและหลั่งน้ำย่อยอาหารประมาณวันละ 2 ลิตรซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง น้ำย่อยอาหาร จากตับอ่อนประกอบต่าง ๆ ดังนี้คือ
1. เอนไซม์ เช่น ทริปซิโนเจน
2. เมือก ทำหน้าที่ป้องกันเซลล์บุผิวลำไส้เล็ก
3. เกลือแร่ เช่น โซเดียมคลอไรด์ โปแตสเซี่ยมคลอไรด์ เป็นต้น
      ตับอ่อนยังทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับเมตาโบลิซึมหรือการเผาผลาญอาหารในร่างกายอีกหลายชนิดดวยกันยกตัวอย่างเช่น ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนอินซูลินเป็นต้น

ตับ
https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTg_x-PlRMbun0glodqZgwg_d3TxdWmh4EiqqVozuex3YLKpmFh
    ตับเป็นอวัยวะขนาดใหญ่ อยู่บริเวณกระบังลม และโดยมากมักยื่นเข้าไปในบริเวณชายโครงข้างขวาและบริเวณลิ้นปี่ ตับแบ่งออกเป็น 2 ซีกได้แก่
1. ซีกขวา เป็นซีกที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งแบ่งเป็นซีกย่อย ๆ อีก 3 ซีก
2. ซีกซ้าย เป็นซีกที่เล็กกว่า
    หลอดเลือดที่เข้าสู่ตับมีจำนวน 3 หลอดและหลอดเลือดที่ออกจากตับมีจำนวน 2 หลอด มีเส้นเลือดเข้าสู่ตับอยู่ 2 ท่อ ตับได้รับออกซิเจนจาก หลอดเลือดเฮปาติด อาร์ทอรี และได้รับเลือดที่ไม่มีออกซิเจนแต่มีอาหารที่เพิ่งถูกดูดเข้ามาจากลำไส้เล็กโดยผ่านทางลอดเลือดเฮปาติกพอร์ตัล อาหารเกือบทั้งหมดและสารพิษจะถูกสกัดแยกไว้ใน    เซลล์ตับ อาหารที่ถูกสกัดกั้นไว้นี้อาจถูกเก็บไว้หรือทำให้พิษสลายไป สารที่เซลล์ตับผลิตขึ้นมาใหม่และอาหารที่ต้องการโดยเซลล์อื่น ๆ ในร่างกายจะถูกส่งกลับเข้ามาในหลอดเลือดใหม่ และเดินทางออกจากตับโดยทางหลอดเลือดเฮปาติกเข้าสู่ระบบหมุนเวียนของเลือดในร่างกาย ตับจะทำหน้าที่หลายอย่างเช่น ควบคุมการสร้างสีแดงของเลือดในผู้ใหญ่ เป็นที่สะสมเหล็กและทองแดง ช่วยสร้างวิตามินดีจากแคโรทีนตับยังทำหน้าที่สร้างน้ำดี น้ำดีจะทำหน้าที่ในการย่อยอาหารประเภทไขมัน น้ำดีสร้างขึ้นโดยเซลล์ตับ และถูกส่งมาเก็บสะสมไว้ที่ถุงน้ำดี ในแต่ละวัน ตับสร้างน้ำดีประมาณ 800-1,000 มิลลิลิตร น้ำดีมีสีเหลือง น้ำตาลหรือเขียวมะกอก ประกอบด้วยน้ำ เกลือของน้ำดี โคเสสเตอรอล เป็นต้น


ถุงน้ำดี
https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS-iQGzIDIVxPMs8AzmepOShGySILHsoLlEvBjB5gcR-1rG6_Sm

    ถุงน้ำดีมีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ อยู่บริเวณพื้นล่างของตับ หน้าที่ของถุงน้ำดีคือเป็นที่พักของหรือขังน้ำดีไว้ในขณะที่ไม่มีการย่อยอาหาร น้ำดีสร้างขึ้นมาจากเซลล์ตับมีสีเหลืองเขียว ซึ่งมีน้ำอยู่ประมาณ 97% แต่เมื่อเคลื่อนย้ายไปเก็บไว้ในถุงน้ำดีแล้วจะมีความเข้มข้นมากขึ้นทำให้เหลือน้ำอยู่ 85% เกลือแร่ที่สำคัญในน้ำดีคือเกลือไบคาร์บอเนต ในน้ำดีไม่มีเอนไซม์อยู่เลย ส่วนสารที่มีสีเหลืองเขียวนั้นเกิดจากการทำงานฮีโมโกลบินที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง ซึ่งเม็ดเลือดแดงทำงานมาแล้วประมาณ 120 วัน จะถูกทำลายที่ม้ามต่อมน้ำเหลือง และตับ


ลำไส้ใหญ่
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRUSX5Sb6iAjW-MHs8KjzqxNfqFtbL4F84pzueartn6lTkRnPdL

    ลำไส้ใหญ่เป็นส่วนล่างสุดของสำไส้ที่ไม่มีการย่อยอาหาร แต่เป็นที่รับกากอาหารผิวด้านในเรียบมีต่อมเมือกอยู่บ้างเพื่อช่วยให้อาหารเคลื่อนที่สะดวก บริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่จะมีไส้ติ่ง  สำไส้ใหญ่ของคนเราราวประมาณ 4 ฟุต กว้าง 2.5 นิ้ว
    หน้าที่ของลำไส้ใหญ่คือ เก็บสะสมกากอาหารและดูดน้ำ ดูดน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ถ้าผนังลำไส้ถูกรบกวนเช่น เป็นบิด จะทำให้ลำไส้ใหญ่นั้นหมดกำลังที่จะดูดน้ำ จึงทำใหอุจจาระเหลวมาก และลำไส้ใหญ่มีการเคลื่อนไหวมาก ทำให้อุจจาระบ่อยเรียกว่าท้องเดิน แต่ตรงกันข้ามถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำออกจากอุจจาระมากเกินไปทำให้แห้งผาก การขับถ่ายก็ยากเราเรียกว่าท้องผูก ในลำไส้ใหญ่มีแบคทีเรียหลายชนิด โดยปกติไม่เป็นอันตรายแก่คน แต่กลับช่วยสร้างวิตามินเคให้อีกด้วย


ลำไส้เล็ก
https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcScwoa-A9rGmrpLj73uITUvZjNskZ0RY6opO5veMAK-Pr1vj4iX

    ลำไส้เล็กเป็นส่วนที่ต่อจากกระเพาะอาหาร มีความยามประมาณ 7 เมตรมีความกว้างประมาณ 1.5 นิ้วแล้วขนาดค่อย ๆ เล็กลงเรื่อยๆ จนถึงปลายสุดกว้างประมาณ 1 นิ้วลำไส้เล็กแบ่งออกเป็น 3 ตอนคือ
1. ลำไส้เล็กตอนต้น มีความยาวประมาณ 10-12 นิ้ว มีรูปร่างคล้ายตัว จะเป็นส่วนของลำไส้ที่สั้นที่สุดและกว้างที่สุดด้วย
2. ลำไส้เล็กตอนกลาง มีความยาวประมาณ 90 นิ้วหรือประมาณ 7.5 ฟุตหรือมีความยาวประมาณหนึ่งในห้าของลำใส้เล็ก
3. ลำไส้เล็กตอนปลาย มีความยาวประมาณ 3 ใน 5 ของลำไส้เล็ก เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของลำไส้เล็กและแคบที่สุดด้วย และจะต่อกับลำไส้ใหญ่ จะอยู่บริเวณด้านขวาของช่องท้องในช่องที่ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ต่อกับเนื้อมีกล้ามเนื้อชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการเปิดปิด ป้องกันไม่ให้อาหารผ่านลงไปในลำไส้ใหญ่แล้วย้อนกลับเข้าลำไส้เล็กอีก


ต่อมสร้างน้ำย่อยในลำไส้เล็ก
    ต่อมน้ำย่อยในลำไส้เล็ก 2 ต่อมคือ
1.  ต่อมรูปทรงกระบอก ซึ่งพบทั่วไปในลำไส้เล็ก มีรูกลม ๆ มาเปิดที่พื้นที่ของลำไส้เล็ก มีหน้าที่สร้างเอนไซม์หลายชนิด คือ
     1.1 เอนไซม์ย่อยโปรตีน เป็นน้ำย่อยที่โปรตีนที่มีขนาดเล็กให้เป็นกรดอะมิโนแต่ไม่สามารถย่อยโปรตีนโดยตรงหรือโปรตีนที่มีขนาดใหญ่ได้
     1.2 เอนไซม์ย่อยคาร์โบโฮเดรท เป็นน้ำย่อยที่ย่อยพวกน้ำตาลสองชั้น เช่น น้ำตาลซูโครส น้ำตาลมอลโตส น้ำตาลแลคโตส เป็นต้น
     1.3 เอนไซม์ย่อยไขมัน จะย่อยไขมันบางชนิด
     1.4 เอนไซม์ที่ช่วยให้น้ำย่อยมีประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร โดยเฉพาะน้ำย่อยโปรตีน
2. ต่อมจากส่วนลำไส้เล็กตอนต้น ทำหน้าที่ขับสารซึ่งช่วยในการขับน้ำย่อยจากตับอ่อน การขับน้ำย่อยจากลำไส้เป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งคนจะบังคับให้ทำงานหรือหยุดทำงานไม่ได้
      อาหารต่าง ๆ เมื่อถูกย่อยแล้วจะถูกดูดซิมที่ลำไส้เล็กเกือบทั้งหมดประมาณ 95 % ของอาหารทั้งหมดที่เรารับประทานเข้าไป ทั้งนี้เพราะเยื่อเมือกของผนังลำไส้เล็กนอกจากจะย่นพับไปมาแล้ว ยังมีส่วนที่เรียกว่าปุ่มซึม ซึ่งยื่นออกมาจากผนักลำไส้เล็ก มีลักษณะคล้ายนิ้วมือ มีอยู่ประมาณ 18-40 ปุ่ม ต่อพื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตร หรือประมาณ 4-5 ล้านปุ่ม ตลอดผนังลำไส้เล้กทั้งหมด ทำให้เกิดเนื้อที่มากมายที่อาหารจะมาสัมผัสเพื่อดูดซึมได้มากและเร็วขึ้น เซลล์เมือกที่ผนังปุ่มจะเลือกให้สารอาหารที่เหมาะสมบางชนิดเท่านั้นที่ซึมผ่านได้ ปุ่มแต่ละอันจะมีกล้ามเนื้อสามารถยืดหดได้ ภายในปุ่มมีเส้นเลือดฝอยมากมาย ทั้งหลอดเลือดแดงและดำติดต่อกันเป็นตาข่าย เพื่อรับอาหารที่ถูกย่อยแล้วดูดซึมเข้าส่วนแกนกลางเป็นท่อน้ำเหลือง ทำหน้าที่ดูดซึมไขมันและวิตามินที่ละลายไขมัน


การดูดซึมในลำไส้เล็ก
    การดูดซึมในลำไส้เล็กมี 2 ทางด้วยกันคือ
1. ทางเส้นเลือดฝอย ดูดซิมกรดอะมิโน น้ำตาลชั้นเดียว เช่นน้ำตาลกลูโคสและไขมันเพียงส่วนน้อยประมาณ 1 ใน 3 ของไขมันทั้งหมด ผ่านเข้าทางเส้นเลือดฝอยของปุ่มซึมไปยังเส้นเลือดดำเข้าสู่ตับ แล้วผ่านไปเข้าเส้นเลือดใหญ่ ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
2. ทางหลอดน้ำเหลือง ดูดซึมไขมัน คือประมาณ 2 ใน 3 ของไขมันทั้งหมดและวิตามินที่ละลายในไขมัน จะผ่านเข้าทางหลอดน้ำเหลืองของปุ่มซึม ไปยังหลอดน้ำเหลืองใหญ่ในสำไส้เล็กนอกจากจะมีการดูดซึมคาร์โบไฮเดรท ไขมัน และโปรตีนแล้วยังมีการดูดซึมเกลือแร่ วิตามิน และน้ำ ตลอดความยาวของลำไส้เล็ก
 ลำดับและเวลาที่ใช้ในการย่อยอาหาร
    ตั้งแต่เรารับประทานอาหารเข้าไปในปากจนถึงออกทางทวารหนัก เราเรียกทางที่อาหารผ่านทั้งหมดนี้ว่า ระบบทางเดินอาหาร” หรือ ระบบย่อยอาหาร” ซึ่งจะมีความยาวประมาณ 6 เท่าของความสูงของคน ส่วนระยะเวลานับตั้งแต่อาหารเริ่มเข้าไปทางปาก จนกระทั่งถ่ายออกมานั้นอยู่กับชนิดของอาหาร แต่จะอยู่ระหว่าง 16-28 ชั่วโมง
อ้างอิง :
1.       การย่อยอาหารhttp://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=69433
การย่อยอาหารของมนุษย์http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=69435

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับความรู้ ที่ทำให้เข้าใจระบบร่างกายได้ชัดเจน เป็นกำลังใจสำหรับบล็อกนี้นะคะ

    ตอบลบ