กระดูกแกนกลาง
กระดูกศีรษะ (Bone of the skull)
กระดูกกะโหลกศีรษะ (Cranium)มีลักษณะคล้ายลูกมะพร้าว ภายในบรรจุสมอง ประกอบด้วยกระดูก 8 ชิ้น ได้แก่
1. กระดูกหน้าผาก (Frontal bone)เป็นกระดูกแบน 1 ชิ้น มีลักษณะเป็นแผ่นแบนหนาอยู่ที่ส่วนหน้าของศีรษะ ประกอบเป็นหน้าผากและเป็นหลังคาของเบ้าตา ภายในกระดูกมีโพรงอากาศ2 แห่งอยู่เหนือขอบตาเรียกว่า โพรงอากาศหน้าผาก (Frontal sinuses)
2. กระดูกข้างศีรษะ (Parietal bone)เป็นกระดูกแบน 2 ชิ้น มีลักษณะเป็นแผ่นแบบโค้งไปติดกับกระดูกหน้าผากทางด้านหน้า และด้านหลังติดกับกระดูกท้ายทอย ตรงกลางของกระดูกทั้ง 2 ชิ้นจะเชื่อมกันประกอบเป็นหลังคาของกะโหลกศีรษะ
3. กระดูกท้ายทอย (Occipital bone)เป็นกระดูกแบนชิ้น ใหญ่ 1 ชิ้น อยู่ทางด้านหลังของกะโหลกศีรษะ ประกอบเป็นฐานของกะโหลกศีรษะทางด้านหลังที่ส่วนล่างมีช่องใหญ่ เรียกว่าForamen magnum ช่องใหญ่นี้เป็นทางผ่านของไขสันหลังซึ่งติดต่อกับสมอง และยังมีเส้นเลือดและเส้นประสาททอดผ่านด้วย
4. กระดูกขมับ (Temporal bone)เป็นกระดูกรูปแปลก เป็นแผ่นแบนบาง 2ชิ้น ประกอบเป็นผนังด้านข้างของกะโหลกศีรษะ กระดูกขมับอันหนึ่ง แบ่งออกเป็น 4 ชิ้น
- 4.1 Squamous portion เป็นส่วนที่บางหรือยื่นข้างบนบริเวณหลังใบหูหรือทัดดอกไม้
- 4.2 Petrous portion เป็นส่วนที่แข็ง ลักษณะเป็นสามเหลี่ยมชี้เข้าไปข้างในทางด้านหน้ากระดูกขมับส่วนนี้มีอวัยวะเกี่ยวกับการได้ยินทั้ง 7 อยู่ภายใน
- 4.3 Mastoid portion เป็นปุ่มกลมยื่นไปข้างหลังช่องหูและใบหูที่เรียกว่ากกหู(Mastoid process)
- 4.4 Tympanic portion เป็นส่วนที่อยู่ใต้ Squamous portion และข้างหน้าMastoid process ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของช่องหูติดกับหูส่วนใน
5. กระดูกรูปผีเสื้อ (Sphenoid bone)เป็นกระดูกรูปแปลก มีลักษณะคล้ายผีเสื้อประกอบด้วยส่วนลำตัว (Body)ปีกเล็กและปีกใหญ่ ประกอบกันเป็นพื้นฐานของกะโหลกศีรษะมีแอ่งตื้นอยู่ที่ส่วนลำตัว เรียกว่า Sella turcica ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งของต่อมใต้สมอง(Pituitary gland or Hypophysis)
6. กระดูกข้อจมูกหรือกระดูกใต้สันจมูก(Etmoid bone) เป็นกระดูกรูปแปลก แผ่นบางโปร่งพรุน ประกอบด้วยแผ่นตั้งฉากและแผ่นแนวนอนตามพื้นราบ และแผ่นด้านข้าง อีก 2 แผ่น แผ่นที่ตั้งฉากจะก่อให้เกิดเป็นส่วนหนึ่งของผนังกั้นช่องจมูก (Nasal septum) ส่วนที่ยื่นของแผ่นตามพื้นราบเป็นขอบเขตของหลังคาของโพรงจมูก มีรูเล็กๆให้ประสาทสัมผัสกลิ่น (Olfactory nerve) ผ่านเข้าไปในสมองกระดูกหน้า(Facial bones) เป็นกระดูกที่ประกอบเป็นโครงของใบหน้า มีทั้งหมด 14 ชิ้น
กระดูกหน้า มีหน้าที่ห่อหุ้มอวัยวะสัมผัสพิเศษได้แก่ ตา จมูก และหู นอกจากนี้กระดูกหน้ายังทำหน้าที่ห่อหุ้มช่องเปิดของระบบสำคัญของร่างกายได้แก่ ระบบทางเดินอาหาร และระบบหายใจ กระดูกต่างๆ
ของกระดูกหน้า ได้แก่
1. กระดูกสันจมูก (Nasal bone) เป็นกระดูกแบบ 2 ชิ้น ประกอบกันเป็นสันจมูก ส่วนบนติดต่อกับกระดูกหน้าผาก และด้านข้างติดกับกระดูกขากรรไกรบน
2. กระดูกแบ่งกั้นโพรงจมูกส่วนล่าง(Vomer bone) เป็นกระดูกแบน 1 ชิ้น ประกอบกันเป็นสันจมูกข้างในกั้นช่องจมูกทั้ง 2 ข้าง
3. กระดูกข้างในจมูก (Inferior nasal concha) เป็นกระดูกรูปแปลก 2 ชิ้น มีลักษณะเป็นเกลียวอยู่ที่ผนังด้านข้างของช่องจมูก
4. กระดูกข้างถุงน้ำตา (Lacrimal bones) เป็นกระดูกแบนชิ้นเล็ก 2 ชิ้น ตั้งอยู่ที่โคนของจมูกใกล้ด้านในของเบ้าตา กระดูกนี้ช่วยทำเป็นร่อง(Groove) เพื่อเป็นที่ตั้งของถุงน้ำตา เป็นกระดูกที่บางมาก
5. กระดูกโหนกแก้ม (Zygomatic or Malar bone) เป็นกระดูกรูปแปลกมี 2ชิ้น ประกอบกันเป็นส่วนนูนของแก้มด้านนอกและพื้นที่ของเบ้าตาด้วย ส่วนโค้งของกระดูกโหนกแก้มจะยื่นไปข้างหลังติดต่อกับ Zygomatic process ของกระดูกขมับ
7. กระดูกขากรรไกรบน (Maxilla bone) เป็นกระดูกรูปแปลกมี 2 ชิ้น มาบรรจบกันข้างหน้าตรงกลางใต้ช่องจมูก อาจเรียกว่า Upper jaw กระดูกขากรรไกรบนมีโพรงอากาศใหญ่ เรียกว่าMaxillary sinuses ซึ่งเปิดสู่จมูก ที่ริมล่างของกระดูกนี้เป็นบ่อเล็กๆ สำหรับให้รากฟันฝังอยู่ เรียกว่าTooth socket or Alveolus และส่วนหน้าด้านในของกระดูกประกอบเป็นเพดานแข็งของปาก(Hard plate) ถ้ากระดูกขากรรไกรบนนี้ไม่ติดกันทั้ง 2 ข้างก่อนคลอด จะทำให้เกิดช่องโหว่ตรงกลาง เรียกว่า เพดานโหว่ (Cleft palate)
กระหม่อมเด็กเป็นบริเวณทีกระดูกกะโหลกยังเชื่อต่อกันไม่สนิท มีเพียงแผ่นเนื้อเยื้อ ปิดกั้น
ระหว่างหนังศีรษะและสมอง กระหม่อมเด็กมีหลายตำแหน่งได้แก่
1. กระหม่อมหน้า (Anterior fontanelle) ปิดเชื่อมเป็น Suture เมือ. อายุประมาณ 2 ขวบ
2. กระหม่อมหลัง (Posterior fontanelle)ปิดเชื่อมเป็น Suture เมือ. อายุประมาณ 2เดือน
3. กระหม่อมข้างด้านหน้า (Anterolateral fontanelle) และกระหม่อมข้างด้านหลัง
(Posterolateral fontanelle) ปิดเชื่อมเป็นSuture เมือ. อายุ 2 – 3 เดือน
รอยต่อของกะโหลกศีรษะ(Suture)
1. Sagittal suture เป็นรอยต่อตรงกลางศีรษะระหว่างกระดูกกระดูกข้างศีรษะ(Parietal
bones) ทั้ง 2 ชิ้น
2. Coronal suture เป็นรอยต่อข้างหน้าระหว่างกระดูกหน้าผาก (Frontal bone) และกระดูก
ข้างศีรษะ (Parietal bone)
3. Squamous suture เป็นรอยต่อด้านข้างระหว่างกระดูกข้างศีรษะ (Parietal bone)และ
กระดูกขมับ (Temporal bone)
4. Lomboidal suture เป็นรอยต่อระหว่างกระดูกท้ายทอย (Occipital bone) กับกระดูกข้าง
ศีรษะ (Parietal bone)
กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone)
เป็นกระดูกรูปแปลก มีรูปคล้ายเกือกม้า ตั้ง อยู่ทีโคนลิ้น7 ข้างหน้าของคอเหนือลูกกระเดือก
(Adam’s apple) กระดูกนี้ลอยอยู่เฉยๆไม่ได้ติดต่อกับกระดูกอื่นเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อลิ้น และ
กล้ามเนื้อมัดอื่นด้วย
กระดูกลำตัว (Axial skeletal)
ประกอบด้วยกระดูก 51 ชิน7 ได้แก่
1. กระดูกหน้าอก (Sternum or Breast bone) กระดูกหน้าอกเป็นกระดูกส่วนกลางทางด้าน
หน้าของทรวงอก เป็นที่ยึดเกาะของกระดูกอ่อนของซี่โครง (Costal cartilage) มีรูปร่างแบน แบ่งเป็น 3
ส่วนได้แก่ ส่วนบนเรียก Manubrium มีรอยต่อกับปลายกระดูกไหปลาร้า (Clavicle) และกระดูกซี่โครง
คู่ที่1 ส่วนกลางเรียก Body ระหว่างManubrium กับ Body มีรอยติดต่อกับกระดูกอ่อนของซี่โครงคู่ที่
2 และตรงรอยต่อระหว่าง Manubrium กับBody ก่อให้เป็นมุมนูนขึ้นมา เรียก Sternum angle ซึ่งจะ
มองเห็นในคนที่มีรูปร่างผอม และส่วนล่างเรียกXiphoid process หรือที่เรียกว่า ลิ้น ปี่ ปลายเรียว
แหลม
ส่วนต่างๆของกระดูกหน้าอกนี้ในเด็กยังเป็นกระดูกอ่อน และเมื่ออายุประมาณ 25 ปี จึงจะเป็น
กระดูกชิ้นเดียว
2.กระดูกซี่โครง (Ribs or Costal bones)เป็นกระดูกแบนและยาวโค้ง มี 12 คู่ หรือ 24 ซี่
แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้
2.1 ซี่โครงแท้ (True or Vertebrosternal ribs) เพราะมี Costal cartilage มาเชื่อมกับ
กระดูกหน้าอก ได้แก่ กระดูกซี่โครงคู่ที่1 – 7
2.2 ซี่โครงไม่แท้ (False or Vertebrocostal ribs) เพราะปลายหน้าไม่ได้ติดกับ
หน้าอกโดยตรง กระดูกซี่โครงคู่ที่8 – 10 มีCostal cartilage แล้วไปเกาะติดกับ Costal cartilage ของ
กระดูกซี่โครงคู่ที่7
2.3 ซี่โครงลอย (Floating ribs) กระดูกซี่โครงคู่ที่11 – 12 ปลายหน้าของกระดูก
ซี่โครงไม่มีกระดูกอ่อนและไม่ได้เชื่อมต่อกับกระดูกหน้าอก
ระหว่างกระดูกซี่โครงแต่ละซี่จะมีช่องว่างทัง7หมด 11 ช่อง เรียก Intercostal space มีไว้ให้
กล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงยึดเกาะ
3. กระดูกสันหลัง (Vertebrae column)เป็นกระดูกรูปแปลก ประกอบกันเป็นแกนลำตัวมี 26
ชิ้น ในผู้ใหญ่ และ 33 ชิ้น ในเด็ก กระดูกสันหลังแต่ละชิ้น ต่อกันเป็นแนวยาว เรียกลำสันหลัง
(Vertebrae column) มีหน้าที่รองรับน้ำหนักร่างกาย และบรรจุไขสันหลัง (Spinal cord)หมอนรอง
กระดูกสันหลัง (Intervertebral disc) เป็นกระดูกอ่อนชนิด Fibrocartilage ที่คั่นและยึดระหว่างกระดูกสัน
หลังแต่ละชิ้น เป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย
ลักษณะทั่วไปของกระดูกสันหลังประกอบด้วย
- ส่วนหน้าซึ่ง เป็นส่วนใหญ่ เรียกว่า Body
- ส่วนหลังเป็นส่วนโค้ง เรียกว่า Vertebral arch ประกอบด้วย pedicle , laminae , transverse
processes และ spinous process (spine)
ส่วนของ Body และ Vertebral arch มาบรรจบกันเกิดเป็นช่องหรือรู เรียกว่าVertebral
foramen เป็นช่องให้ไขสันหลังทอดผ่าน ส่วนด้านข้างจะมีช่องเล็กๆอีกข้างละอัน เรียกTransverse
foramen ซึ่งเป็นทางผ่านของหลอดเลือดแดง
กระดูกสันหลังแบ่งออกเป็นส่วนๆ คือ
3.1 กระดูกสันหลังตอนคอ (Cervical vertebrae) มี 7 ชิ้น
- กระดูกสันหลังตอนคอชิ้นที่1 เรียก Atlas มีลักษณะคล้ายวงแหวน ไม่ Body พื้น บนมี
รอยต่อกับ Condyle ของกระดูกท้ายทอย และพื้น ล่างมีรอยต่อกับกระดูกสันหลังตอนคอท่อนที .2
กระดูกชิน7 นี้ทำหน้าที่ก้มศีรษะและเงยไปข้างหลัง
- กระดูกสันหลังตอนคอท่อนที่2 เรียก Axisพื้น บนของ Body มีเดือย เรียก Odontoid
process เดือยนี้จะสวมอยู่ในกระดูก Atlasทำให้ศีรษะหมุนไปข้างๆได้ ส่วนพื้น ล่างมีBody ซึง. จะต่อกับ
กระดูกสันหลังท่อนที่3
3.2 กระดูกสันหลังตอนอก (Thoracic vertebrae) มี 12 ชิ้น ส่วน Body ใหญ่ และแข็งแรง มี
ส่วนที่ต่อกับส่วนหัวของกระดูกซี่โครงมีTransverse process หนา ใหญ่และแข็งแรง ไม่มีรู แต่ที่
ข้างหน้ามีรอยติดต่อกับ tubercle ของกระดูกซี่โครงยกเว้นคู่ที่ 11 – 12 เท่านั้น Spinous process ยาว
และชี้ลงข้างล่าง
3.3 กระดูกสันหลังตอนเอว (Lumbar vertebrae) มี 5 ชิ้นส่วน Body ของกระดูกสันหลัง
ตอนเอวจะใหญ่ และแข็งแรงกว่าส่วนอื่นทั้งหมด
3.4 กระดูกสันหลังตอนก้นกบ (Sacral vertebrae) ในเด็กมี 5 ชิ้น ส่วนผู้ใหญ่มี 1ชิ้น
ลักษณะเป็นรูปแผ่นสามเหลี่ยม ส่วนล่างโค้งไปข้างหน้า ที่ด้านข้างมีรูเล็กๆหลายรูสำหรับให้เส้นประสาท
ทอดทะลุผ่าน กระดูกชิ้น นี้ประกอบเป็นผนังเบื้องหลังของอุ้งเชิงกราน
3.5 กระดูกปลายก้นกบ (Coccygeal vertebrae) เป็นกระดูก 4 ชิ้น เล็กๆในเด็ก แต่ในผู้ใหญ่
อาจรวมติดกันเป็นกระดูกแผ่นเดียว เป็นปลายสุดของกระดูกสันหลัง
โค้งกระดูกสันหลัง มีอยู่ 4 โค้งด้วยกัน คือ
- โค้งตอนคอ (Cervical curve) จะแอ่นไปทางด้านหน้า (Anterior curve)
- โค้งตอนอก (Thoracic curve) จะแอ่นไปทางด้านหลัง (Posterior curve)
- โค้งตอนเอว (Lumbar curve) จะแอ่นไปทางด้านหน้า (Anterior curve)
- โค้งตอนก้นกบ (Sacral curve) จะแอ่นไปทางด้านหน้า (Anterior curve)
การโค้งของกระดูกสันหลัง อาจผิดปกติไปได้ คือ ถ้ากระดูกสันหลังตอนอก โค้งไปทางด้านหลัง
มากกว่าปกติ เรียกว่า หลังโก่ง (Kyphosis or Humpback) ซึ่ง พบในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเป็นวัณโรคของ
กระดูก ถ้ากระดูกสันหลังตอนเอว แอ่นไปข้างหน้ามากกว่าปกติ เรียก Lordosis or Hollow back มักพบ
ในหญิงที่ตั้งครรภ์ แต่ถ้ากระดูกสันหลังโค้งไปข้างๆ (Lateral curvature) เรียก เอวคด(Scoliosis)
โดยมากมักโค้งไปข้างขวามากกว่าปกติ ในคนธรรมดาจะโค้งเล็กน้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น