Anatomy
วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
การย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหาร digestive system
การย่อยอาหาร คือ ขบวนการเปลี่ยนแปลงสารประกอบของอาหารในโมเลกุลขนาดใหญ่ให้เป็นสารประกอบของอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กพอที่จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและเซลล์ของร่างกายได้
การย่อยอาหารมี 2 วิธี คือ
1. การบดให้ละเอียด โดยใช้ฟันเคี้ยวซึ่งในคนเรามีฟันอยู่ 32 ซี่ ยื่นออกมาจากขากรรไกร ทั้งบนและล่าง ข้างละ 16 ซี่ ได้แก่ ฟันหน้า 4 ซี่ ฟันเขี้ยว 2 ซี่ กรามเล้ก 4 ซี่ และกรามใหญ่ 6 ซี่ การย่อยอาหารนั้นต้องใช้ลิ้นเป็นตัวช่วยในการคลุกเคล้าอาหารให้เข้ากัน
2. การใช้น้ำยาหรือเอ็นไซม์ ช่วยทำให้อาหารเป็นโมเลกุลเล็กลงอีก
|
ปาก
ปากเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารที่สำคัญ เพราะเป็นส่วนแรกของอาหารที่จะทำการย่อยให้โมเลกุลเล็กลง ปากเป็นอวัยวะที่มีช่องเปิดเข้าสู่ภายใน ซึ่งประกอบด้วย น้ำลาย ฟัน ลิ้น แผ่นเพดานอ่อน และลิ้นไก่
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับปากมีดังนี้ คือ
1. ริมฝีปากข้างแก้ม เป็นตัวเคลื่อนที่ช่วยในการบดอาหาร
2. ช่องแก้ม อยู่ระหว่างฟันกับแก้ม และฟันกับริมฝีปาก บริเวณที่มีต่อมน้ำลายใต้หู ซึ่งต่อมนี้จะส่งน้ำลายออกมาที่
ช่องแก้มบริเวณกราม ดังนั้นเวลาเคี้ยวของเปรี้ยว ๆ จะรู้สึกปวดเนื่องจากน้ำลายออกมา
3. ต่อมน้ำลาย ภายในปาก มีต่อมน้ำลายอยู่ 3 คู่ คือ
3.1 ต่อมใต้ขากรรไกร อยู่ที่มุมของขากรรไกรล่าง มีท่อน้ำลายเปิดที่ใต้ลิ้น
3.2 ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น เป็นต่อมน้ำลายที่อยู่ใต้ลิ้นระหว่างด้านในของก้านกระดูกขากรรไกรล่าง มีท่อมา
เปิดใต้ลิ้นเช่นกัน
3.3 ต่อมน้ำลายใต้กกหู มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่บริเวณกกหู มาเปิดที่บริเวณกรามหลังซีกล่าง ถ้าต่อมนี้ติด
เชื่อจะเกิดการอักเสบ เราเรียกว่าโรคคางทูม
|
น้ำลาย
น้ำลายจะมีน้ำเป็นประกอบอยู่ 99% และยังมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน และไนโตรเจนละลายอยู่ และมีของเหลวบางชนิด เช่น ฟอสเฟต เป็นต้น นอกจากนี้ในน้ำลายยังมีน้ำเมือกและน้ำย่อยที่ใช้ย่อยแป้ง มีชื่อเรียกเฉพาะว่า ไทยาลีน ช่วยย่อยแป้งที่สุกแล้วให้เป็นน้ำตาล ดังนั้นเมื่อกินอาหารพวกแป้งเช่น ข้าว จะรู้สึกว่า มีรสหวาน เพราะในน้ำลายมีน้ำย่อยที่ใช้ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล น้ำลายของคนเราจะหลั่งวันละ 1-1.5 ลิตรขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การนึกถึงอาหาร
หน้าที่ของน้ำลาย คือ ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกแป้งให้เป็นน้ำตาล ช่วยให้อาหารอ่อนตัวเพื่อความสะดวกและหล่อลื่นอาหารในขณะจะกลืน ทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายต่าง ๆ เพื่อการรับรู้รสช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก ควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายและช่วยให้ปากเปียกชื้นอยู่เสมอ
ฟัน ในปากมีฟันสำหรับทำหน้าที่เคี้ยวอาหารเช่น กัด ฉีก แทะ หรือบดอาหาร ฟันจะเกิดก่อนกระดูกและไม่เกี่ยวข้องกับกระดูกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ฟันเป็นส่วนหนึ่งของทางเดินอาหาร
ฟันประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้คือ
1. ตัวฟัน เป็นที่โผล่พ้นเหงือก
2. รากฟัน เป็นส่วนที่ฝังอยู่ในตัวเหงือก
3. คอฟัน เป็นส่วนที่คอดอยู่ระหว่างตัวฟันและรากฟัน
ฟันคนเรามี 2 ชุด คือ
1. ฟันน้ำนม จะเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6-8 เดือน และครบเมื่ออายุ 2 ขวบ มีจำนวน 20 ซี่
2. ฟันแท้ เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6 ขวบ และจะครบ 32 ซี่เมื่ออายุ 18 ปีหรือขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละคน
ชนิดของฟันแท้ครึ่งปากล่างประกอบด้วย
1. ฟันตัด 4 ซี่
2. ฟันเขี้ยว 2 ซี่
3. ฟันกราม 4 ซี่
4. ฟันกรามหลัง 6 ซี่
|
คอหอยและหลอดอาหาร
คอหอย เป็นท่อซึ่งอยู่หลังหลอดลมและปากเป็นบริเวณที่อาหารและลมมาพบกัน ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของลมหรืออากาศ จากจมูกไปยังกล่องเสียง และเป็นทางผ่านของอาหารจากปากไปยังหลอดอาหารรวมทั้งเป็นตัวช่วยทำให้เกิดเสียง
หลอดอาหาร เป็นหลอดต่อจากคอหอย อยู่หลังหลอดลมยาวประมาณ 9-10 นิ้ว ช่วงปลายของหลอดอาหารผ่านกระบังลมไปเปิดสู่กระเพาะอาหาร หลอดอาหารรับอาหารจากคอหอยไปสู่กระเพาะอาหารโดยการบีบรัดอาหารให้ไปทางเดียวโดยการบีดรัดตัวกล้ามเนื้อเรียบที่บีบตัวจะเป็นลูกคลื่นเพื่อไล่อาหารลงสู่กระเพาะอาหารต่อไป
กระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหารเป็นทางเดินอาหารซึ่งมีลักษณะเป็นถุงใหญ่ ภายในไม่เรียบมีลักษณะคล้ายลูกคลื่น กระเพาะอาหารของคนเราแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
|
1. กระเพาะส่วนแรก อยู่ใกล้หัวใจ บริเวณส่วนต้นมีหูรูดอยู่ด้วย เอาไว้คอยกั้นอาหารในกระเพาะไม่ให้ไหลย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหาร
2. กระเพาะส่วนกลาง มีลักษณะเป็นกระพุ้งใหญ่
3. กระเพาะส่วนสุดท้าย ตรงปลายมีหูรูด คอยรูดกันไม่ให้อาหารไปสู่สำไส้เล็กเร็วเกินไป รูปร่างของกระเพาะอาหารเมื่อมองด้านบนพบว่า มีการงอโค้งอยู่ด้านหนึ่ง เพราะความยาวของกระเพาะอาหารทั้งสองด้านไม่เท่ากัน เมื่องดอาหารไปนาน ๆ ปริมาตรของกระเพาะอาหารจะลดลงเหลือเพียง 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อมีอาหารเข้าไปแล้วกระเพาะอาหารจะมีขนาดใหญ่ขึ้นประมาณ 10-40 เท่า หรือประมาณ 500-2,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
ภายในกระเพาะอาหารมีต่อมสร้างน้ำย่อย เป็นต่อมสำหรับสร้างน้ำย่อย แล้วยังสามารถสร้างกรด น้ำเมือก รวมทั้งน้ำย่อยอีก 2 ชนิดทำหน้าที่ย่อยโปรตีนด้วย น้ำย่อย 2 ชนิดนี้เรียกกว่าเปปซิน และเรนนิน อาหารจะคลุกเคล้ากับน้ำย่อยในกระเพาะอาหารประมาณ 1-6 ชั่วโมง จึงถูกส่งผ่านเข้าลำไส้เล็กนักวิทยาศาสตร์พบว่า น้ำย่อยที่สร้างขึ้นจากต่อมในกระเพาะอาหารนี้ ครั้งแรกจะอยู่ในสภาพที่ยังไม่พร้อมที่จะทำงานได้ แต่เมื่อรวมกับกรดเกลือแล้ว น้ำย่อยจึงเปลี่ยนสภาพให้พร้อมที่จะย่อยอาหารได้
การย่อยในกระเพาะอาหาร
อาหารที่ถูกบดให้ละเอียดและอ่อนตัวลงแล้วก็จะเคลื่อนย้ายผ่านหลอดอาหารลงมาในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะทำหน้าที่ย่อยอาหารจำพวกโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ เอนไซม์ ที่สำคัญในกระเพาะอาหารมีดังนี้ คือ
1. กรดเกลือ ย่อยโปรตีนได้
2. เปปซิน จะย่อยโปรตีนที่ได้จากพืชและสัตว์ให้มีโมเลกุลเล็กลง
3. ไลเปส จะย่อยอาหารได้ดีเมื่ออยู่ในสภาพที่เป็นกรด
4. เรนนิน จะช่วยทำให้โปรตีนที่อยู่ในนมเกิดการแข็งตัวตกตะกอนภายหลังที่รวมตัวกับแคลเซี่ยม การย่อยอาหารโปรตีนในกระเพาะอาหารนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและการบีบตัวของกระเพาะอาหารด้วยบริเวณที่เกิดการย่อย
การบีบตัวของกระเพาะอาหาร
การย่อยในกระเพาะอาหารนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและการบีบตัวของกระเพาะอาหารด้วยการบีบตัวของกระเพาะอาหารจะทำให้คลุกเคล้า บดอาหารให้เข้ากับน้ำย่อยได้ดีจนกลายสภาพเป็นของเหลวข้นที่มีฤทธิ์เป็นกรด หลังจากนั้นกระเพาะอาหารก็จะบีบตัวเคลื่อนย้ายอาหารผ่านกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะอาหารตอนล่าง เมื่ออาหารผ่านลงไปในลำไส้เล็ก ก็จะปิดทันที เพื่อมิให้น้ำดีไหลย้อนกลับเข้าไปในกระเพาะอาหารอย่างไรก็ตามกระเพาะอาหารจะไม่ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วแต่อย่างใด ยกเว้นสารเคมีบางชนิด เช่น แอลกอฮอร์ ยาบางชนิดที่เป็นกรดและน้ำ เป็นต้น
|
เอนไซม์คืออะไร
1. เอนไซม์เป็นสารโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ช่วยให้เกิดปฏิกิริยาด้วยความเร็วสูงมาก หรือการแตกตัวของอาหารที่เป็นโมเลกุลใหญ่ ให้เป็นโมเลกุลเล็ก โดยใช้น้ำเป็นตัวทำปฏิกิริยา ปกติน้ำตาลมอลโตส ละลายน้ำแล้วจะทำให้เกิดปฏิกิริยาช้า แต่ถ้ามีเอนไซม์เข้ามาช่วยจะทำให้เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้นกลายเป็นน้ำตาลกลูโคสจำนวน 2 โมเลกุลจากผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า สิ่งมีชีวิตมีเอนไซม์หลายชนิดเอนไซม์แต่ละชนิดทำงานเฉพาะเจาะจง กล่าวคือ เอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาชนิดหนึ่งจะไม่สามารถไปเร่งปฏิกิริยาอื่น ๆ ได้
ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเอนไซม์ ได้แก่ ความร้อน ความเป็นกรด ด่างเป็นต้น อาจทำให้โครงสร้างของเอนไซม์เปลี่ยนแปลงไปได้ จะทำให้ไม่สามารถเร่งปฏิกิริยาได้ ยกตัวอย่างเช่น เอนไซม์ชนิดหนึ่งเร่งปฏิกิริยาได้ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส แต่ถ้าหากว่าอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสเอนไซม์จะไม่มีความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาเลย
ฮอร์โมนคืออะไร
ฮอร์โมนเป็นของเหลวประกอบด้วยสารพวกโปรตีนซึ่งผลิตขึ้นภายในร่างกายมีหน้าที่เป็นตัวเร่งหรือช่วยควบคุมการทำงานของต่อมหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ในกรณีเกี่ยวกับการย่อยอาหาร เมื่อเยื่อเมือกของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กซึ่งมีเซลล์พิเศษบุอยู่ถูกกระตุ้นด้วยอาหาร ร่างกายก็จะสร้างฮอร์โมนขึ้นมาแล้วฮอร์โมนเหล่านี้จะไหลเข้าสู่กระแสเลือด ไปออกฤทธิ์กระตุ้นให้ผนังกระเพาะอาหารผนังลำไส้และตับอ่อนผลิตน้ำย่อยออกมา และกระตุ้นให้ตับอ่อนปล่อยน้ำดีออกมา ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะเป็นตัวการที่จะทำให้กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ตับอ่อนและตับทำงานหรือหยุดทำงานแล้วแต่ว่ามันจะถูกสร้างขึ้นมาหรือไม่
ต่อมพิทุอิตารี ซึ่งอยู่บริเวณใต้สมอง สร้างฮอร์โมนควบคุมต่อมไทรอยด์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญอาหารในร่างกาย
|
น้ำย่อยจากตับอ่อน
ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญที่สุดในการย่อยอาหาร ทั้งนี้เพราะว่าตับอ่อนสร้างเอนไซม์ที่สามารถย่อยอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ทั้ง 3 กลุ่ม คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรท และไขมันได้เป็นอย่างดี ตับอ่อนจะสร้างและหลั่งน้ำย่อยอาหารประมาณวันละ 2 ลิตรซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง น้ำย่อยอาหาร จากตับอ่อนประกอบต่าง ๆ ดังนี้คือ
1. เอนไซม์ เช่น ทริปซิโนเจน
2. เมือก ทำหน้าที่ป้องกันเซลล์บุผิวลำไส้เล็ก
3. เกลือแร่ เช่น โซเดียมคลอไรด์ โปแตสเซี่ยมคลอไรด์ เป็นต้น
ตับอ่อนยังทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับเมตาโบลิซึมหรือการเผาผลาญอาหารในร่างกายอีกหลายชนิดดวยกันยกตัวอย่างเช่น ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนอินซูลินเป็นต้น
|
ตับ
ตับเป็นอวัยวะขนาดใหญ่ อยู่บริเวณกระบังลม และโดยมากมักยื่นเข้าไปในบริเวณชายโครงข้างขวาและบริเวณลิ้นปี่ ตับแบ่งออกเป็น 2 ซีกได้แก่
1. ซีกขวา เป็นซีกที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งแบ่งเป็นซีกย่อย ๆ อีก 3 ซีก
2. ซีกซ้าย เป็นซีกที่เล็กกว่า
หลอดเลือดที่เข้าสู่ตับมีจำนวน 3 หลอดและหลอดเลือดที่ออกจากตับมีจำนวน 2 หลอด มีเส้นเลือดเข้าสู่ตับอยู่ 2 ท่อ ตับได้รับออกซิเจนจาก หลอดเลือดเฮปาติด อาร์ทอรี และได้รับเลือดที่ไม่มีออกซิเจนแต่มีอาหารที่เพิ่งถูกดูดเข้ามาจากลำไส้เล็กโดยผ่านทางลอดเลือดเฮปาติกพอร์ตัล อาหารเกือบทั้งหมดและสารพิษจะถูกสกัดแยกไว้ใน เซลล์ตับ อาหารที่ถูกสกัดกั้นไว้นี้อาจถูกเก็บไว้หรือทำให้พิษสลายไป สารที่เซลล์ตับผลิตขึ้นมาใหม่และอาหารที่ต้องการโดยเซลล์อื่น ๆ ในร่างกายจะถูกส่งกลับเข้ามาในหลอดเลือดใหม่ และเดินทางออกจากตับโดยทางหลอดเลือดเฮปาติกเข้าสู่ระบบหมุนเวียนของเลือดในร่างกาย ตับจะทำหน้าที่หลายอย่างเช่น ควบคุมการสร้างสีแดงของเลือดในผู้ใหญ่ เป็นที่สะสมเหล็กและทองแดง ช่วยสร้างวิตามินดีจากแคโรทีนตับยังทำหน้าที่สร้างน้ำดี น้ำดีจะทำหน้าที่ในการย่อยอาหารประเภทไขมัน น้ำดีสร้างขึ้นโดยเซลล์ตับ และถูกส่งมาเก็บสะสมไว้ที่ถุงน้ำดี ในแต่ละวัน ตับสร้างน้ำดีประมาณ 800-1,000 มิลลิลิตร น้ำดีมีสีเหลือง น้ำตาลหรือเขียวมะกอก ประกอบด้วยน้ำ เกลือของน้ำดี โคเสสเตอรอล เป็นต้น
|
ถุงน้ำดี
ถุงน้ำดีมีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ อยู่บริเวณพื้นล่างของตับ หน้าที่ของถุงน้ำดีคือเป็นที่พักของหรือขังน้ำดีไว้ในขณะที่ไม่มีการย่อยอาหาร น้ำดีสร้างขึ้นมาจากเซลล์ตับมีสีเหลืองเขียว ซึ่งมีน้ำอยู่ประมาณ 97% แต่เมื่อเคลื่อนย้ายไปเก็บไว้ในถุงน้ำดีแล้วจะมีความเข้มข้นมากขึ้นทำให้เหลือน้ำอยู่ 85% เกลือแร่ที่สำคัญในน้ำดีคือเกลือไบคาร์บอเนต ในน้ำดีไม่มีเอนไซม์อยู่เลย ส่วนสารที่มีสีเหลืองเขียวนั้นเกิดจากการทำงานฮีโมโกลบินที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง ซึ่งเม็ดเลือดแดงทำงานมาแล้วประมาณ 120 วัน จะถูกทำลายที่ม้ามต่อมน้ำเหลือง และตับ
|
ลำไส้ใหญ่
ลำไส้ใหญ่เป็นส่วนล่างสุดของสำไส้ที่ไม่มีการย่อยอาหาร แต่เป็นที่รับกากอาหารผิวด้านในเรียบมีต่อมเมือกอยู่บ้างเพื่อช่วยให้อาหารเคลื่อนที่สะดวก บริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่จะมีไส้ติ่ง สำไส้ใหญ่ของคนเราราวประมาณ 4 ฟุต กว้าง 2.5 นิ้ว
หน้าที่ของลำไส้ใหญ่คือ เก็บสะสมกากอาหารและดูดน้ำ ดูดน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ถ้าผนังลำไส้ถูกรบกวนเช่น เป็นบิด จะทำให้ลำไส้ใหญ่นั้นหมดกำลังที่จะดูดน้ำ จึงทำใหอุจจาระเหลวมาก และลำไส้ใหญ่มีการเคลื่อนไหวมาก ทำให้อุจจาระบ่อยเรียกว่าท้องเดิน แต่ตรงกันข้ามถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำออกจากอุจจาระมากเกินไปทำให้แห้งผาก การขับถ่ายก็ยากเราเรียกว่าท้องผูก ในลำไส้ใหญ่มีแบคทีเรียหลายชนิด โดยปกติไม่เป็นอันตรายแก่คน แต่กลับช่วยสร้างวิตามินเคให้อีกด้วย
|
ลำไส้เล็ก
ลำไส้เล็กเป็นส่วนที่ต่อจากกระเพาะอาหาร มีความยามประมาณ 7 เมตรมีความกว้างประมาณ 1.5 นิ้วแล้วขนาดค่อย ๆ เล็กลงเรื่อยๆ จนถึงปลายสุดกว้างประมาณ 1 นิ้วลำไส้เล็กแบ่งออกเป็น 3 ตอนคือ
1. ลำไส้เล็กตอนต้น มีความยาวประมาณ 10-12 นิ้ว มีรูปร่างคล้ายตัว C จะเป็นส่วนของลำไส้ที่สั้นที่สุดและกว้างที่สุดด้วย
2. ลำไส้เล็กตอนกลาง มีความยาวประมาณ 90 นิ้วหรือประมาณ 7.5 ฟุตหรือมีความยาวประมาณหนึ่งในห้าของลำใส้เล็ก
3. ลำไส้เล็กตอนปลาย มีความยาวประมาณ 3 ใน 5 ของลำไส้เล็ก เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของลำไส้เล็กและแคบที่สุดด้วย และจะต่อกับลำไส้ใหญ่ จะอยู่บริเวณด้านขวาของช่องท้องในช่องที่ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ต่อกับเนื้อมีกล้ามเนื้อชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการเปิดปิด ป้องกันไม่ให้อาหารผ่านลงไปในลำไส้ใหญ่แล้วย้อนกลับเข้าลำไส้เล็กอีก
|
ต่อมสร้างน้ำย่อยในลำไส้เล็ก
ต่อมน้ำย่อยในลำไส้เล็ก 2 ต่อมคือ
1. ต่อมรูปทรงกระบอก ซึ่งพบทั่วไปในลำไส้เล็ก มีรูกลม ๆ มาเปิดที่พื้นที่ของลำไส้เล็ก มีหน้าที่สร้างเอนไซม์หลายชนิด คือ
1.1 เอนไซม์ย่อยโปรตีน เป็นน้ำย่อยที่โปรตีนที่มีขนาดเล็กให้เป็นกรดอะมิโนแต่ไม่สามารถย่อยโปรตีนโดยตรงหรือโปรตีนที่มีขนาดใหญ่ได้
1.2 เอนไซม์ย่อยคาร์โบโฮเดรท เป็นน้ำย่อยที่ย่อยพวกน้ำตาลสองชั้น เช่น น้ำตาลซูโครส น้ำตาลมอลโตส น้ำตาลแลคโตส เป็นต้น
1.3 เอนไซม์ย่อยไขมัน จะย่อยไขมันบางชนิด
1.4 เอนไซม์ที่ช่วยให้น้ำย่อยมีประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร โดยเฉพาะน้ำย่อยโปรตีน
2. ต่อมจากส่วนลำไส้เล็กตอนต้น ทำหน้าที่ขับสารซึ่งช่วยในการขับน้ำย่อยจากตับอ่อน การขับน้ำย่อยจากลำไส้เป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งคนจะบังคับให้ทำงานหรือหยุดทำงานไม่ได้
อาหารต่าง ๆ เมื่อถูกย่อยแล้วจะถูกดูดซิมที่ลำไส้เล็กเกือบทั้งหมดประมาณ 95 % ของอาหารทั้งหมดที่เรารับประทานเข้าไป ทั้งนี้เพราะเยื่อเมือกของผนังลำไส้เล็กนอกจากจะย่นพับไปมาแล้ว ยังมีส่วนที่เรียกว่าปุ่มซึม ซึ่งยื่นออกมาจากผนักลำไส้เล็ก มีลักษณะคล้ายนิ้วมือ มีอยู่ประมาณ 18-40 ปุ่ม ต่อพื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตร หรือประมาณ 4-5 ล้านปุ่ม ตลอดผนังลำไส้เล้กทั้งหมด ทำให้เกิดเนื้อที่มากมายที่อาหารจะมาสัมผัสเพื่อดูดซึมได้มากและเร็วขึ้น เซลล์เมือกที่ผนังปุ่มจะเลือกให้สารอาหารที่เหมาะสมบางชนิดเท่านั้นที่ซึมผ่านได้ ปุ่มแต่ละอันจะมีกล้ามเนื้อสามารถยืดหดได้ ภายในปุ่มมีเส้นเลือดฝอยมากมาย ทั้งหลอดเลือดแดงและดำติดต่อกันเป็นตาข่าย เพื่อรับอาหารที่ถูกย่อยแล้วดูดซึมเข้าส่วนแกนกลางเป็นท่อน้ำเหลือง ทำหน้าที่ดูดซึมไขมันและวิตามินที่ละลายไขมัน
|
การดูดซึมในลำไส้เล็ก
การดูดซึมในลำไส้เล็กมี 2 ทางด้วยกันคือ
1. ทางเส้นเลือดฝอย ดูดซิมกรดอะมิโน น้ำตาลชั้นเดียว เช่นน้ำตาลกลูโคสและไขมันเพียงส่วนน้อยประมาณ 1 ใน 3 ของไขมันทั้งหมด ผ่านเข้าทางเส้นเลือดฝอยของปุ่มซึมไปยังเส้นเลือดดำเข้าสู่ตับ แล้วผ่านไปเข้าเส้นเลือดใหญ่ ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
2. ทางหลอดน้ำเหลือง ดูดซึมไขมัน คือประมาณ 2 ใน 3 ของไขมันทั้งหมดและวิตามินที่ละลายในไขมัน จะผ่านเข้าทางหลอดน้ำเหลืองของปุ่มซึม ไปยังหลอดน้ำเหลืองใหญ่ในสำไส้เล็กนอกจากจะมีการดูดซึมคาร์โบไฮเดรท ไขมัน และโปรตีนแล้วยังมีการดูดซึมเกลือแร่ วิตามิน และน้ำ ตลอดความยาวของลำไส้เล็ก
ลำดับและเวลาที่ใช้ในการย่อยอาหาร
ตั้งแต่เรารับประทานอาหารเข้าไปในปากจนถึงออกทางทวารหนัก เราเรียกทางที่อาหารผ่านทั้งหมดนี้ว่า “ระบบทางเดินอาหาร” หรือ “ระบบย่อยอาหาร” ซึ่งจะมีความยาวประมาณ 6 เท่าของความสูงของคน ส่วนระยะเวลานับตั้งแต่อาหารเริ่มเข้าไปทางปาก จนกระทั่งถ่ายออกมานั้นอยู่กับชนิดของอาหาร แต่จะอยู่ระหว่าง 16-28 ชั่วโมง
อ้างอิง :
การย่อยอาหารของมนุษย์http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=69435
|
ข้อต่อ
ประเภทของข้อต่อ
แบ่งตามโครงสร้างของข้อต่อ
- Fibrous joint / Synarthroses ซึ่งไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
Sutures พบที่กะโหลกศีรษะเท่านั้นGomphosis ยึดระหว่างฟันกับกรามsynchondrosis พบบริเวณ Epiphyseal plate
- Cartilagenous joint / Amphiarthroses ซึ่งสามารถเคลื่อนไหวได้บ้าง
Syndesmosis พบบริเวณส่วนปลายของกระดูก Tibia และ FibulaSymphysis เชื่อมต่อกันด้วยกระดูกอ่อน
- Synovial joint / Diarthroses ซึ่งสามารถเคลื่อนไหวได้ มรกระดูกอ่อนหุ้มผิวหน้าของข้อต่อ มีแคปซูลหุ้มข้อต่อ มีน้ำไขข้ออยู่ด้านในซึ่งนำอาหารมาเลี้ยงข้อต่อ เป็นสารหล่อลื่นข้อต่อ และสร้างความมั่นคงให้กับข้อต่อ
แบ่งตามการเคลื่อนไหวของข้อต่อ
- ข้อต่อแบบเลื่อน (Gliding / Plane joint) ซึ่งผิวหน้าข้อต่อทั้งสองด้านค่อนข้างเรียบ ทำให้เกิดการเลื่อนไปมาระหว่างกระดูกได้เล็กน้อย
- ข้อต่อแบบบานพับ (Ginglymus / Hinge joint) ซึ่งเป็นข้อต่อที่มีลักษณะคล้ายบานพับประตู ผิวหน้าข้อต่อด้านหนึ่งมีลักษณะกลม
ผิวหน้าข้อต่ออีกด้านหนึ่งมีลักษณะเว้าลองรับ เคลื่อยฃนไหวได้ทิศทางเดียว เป็นข้อต่อแบบแกนเดียว
- ข้อต่อแบบไพวอท (Pivot joint) เป็นข้อต่อที่กระดูกสองชิ้นวางชิดกัน มีเอ็นยึดกระดูกคล้องรอบกระดูก มีการเคลื่อนที่แบบหมัน และเป็น
ข้อต่อแบบแกนเดียว
- ข้อต่อแบบคอนดิลลอยด์ (Condylloid joint) ซึ่งผิวข้อต่อด้านหนึ่งเป็นทรงกลมหรือรูปไข่ ส่วนผิวข้อต่ออีกด้านหนึ่งเป็นทรงกลมรองรับ และ
เคลื่อนที่ได้สองทิศทาง
- ข้อต่อแบบอานม้า (Sadle joint) ซึ่งผิวหน้าข้อต่อมีลักษณะคล้ายอานม้า เคลื่อนที่ได้สองทิศทาง เป็นข้อต่อแบบสองแกน
- ข้อต่อแบบลูกบอลและเบ้า (Ball and Socket joint) ซึ่งผิวข้อต่อด้านหนึ่งมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายลูกบอล ส่วนผิวข้อต่อต่ออีกด้านหนึ่ง
มีลักษณะเป็นเบ้ารองรับ เคลื่อนที่ได้ตั้งแต่สามทิศทางขึ้นไป
- กระจายน้ำหนักบนผิวหน้าของข้อต่อ
- ดูดซับแรงกระแทก
- กระชับข้อต่อ
- จำกัดการลื่นไถลของผิวข้อต่อ
- ป้องกันผิวหน้ากระดูกจากการเสียดสีกัน
- เพิ่มความลื่นให้กับข้อต่อ
วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559
กล้ามเนื้อ.. T2
CR
https://sites.google.com/site/muscularsys/rabb-klam-neux/chnid-khxng-klam-neux
กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ตื้น คือ อยู่ใต้ผิวหนัง (Subcutaneous tissue) ด้านหนึ่งเกาะกับกระดูกหน้า อีกด้านหนึ่งติดกับผิวหนังของใบหน้าทำหน้าที่แสดงความรู้สึกบนใบหน้าในลักษณะต่าง ๆ เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ และแสดงอาการทางสีหน้า เช่น ยิ้ม หัวเราะร้องไห้ เป็นกล้ามเนื้อที่เน้นบุคลิกภาพของแต่ละคนได้เป็นอย่างดี กล้ามเนื้อที่ใช้แสดงความรู้สึกของใบหน้า (Muscle of facial expression) ที่สำคัญ ได้แก่
Frontalis อยู่ที่หน้าผาก ทำหน้าที่ ยกคิ้วขึ้นลง ทำหน้าผากย่น
Nasalis อยู่ที่จมูก ทำหน้าที่ หุบปีกจมูก เวลาดมกลิ่น
Corrugator อยู่บริเวณคิ้ว – เหนือคิ้ว ทำหน้าที่ ขมวดคิ้ว ครุ่นคิด
Orbiculalis occuli อยู่รอบดวงตา ทำหน้าที่ ปิดตา หรือหลับตา
Zygomaticus major เกาะอยู่บริเวณโหนกแก้ม – ปากบน ทำหน้าที่ยกปาก
Orbicularis oris อยู่บริเวณรอบปาก ทำหน้าที่ หุบปาก ทำริมฝีปากยื่น ทำปากจู๋
Risorius อยู่ถัดออกมาทางด้านข้างของปาก ทำหน้าที่เวลาแสยะยิ้ม
กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยว (Muscle of mastication) มี 4 มัด คือTempolaris muscle อยู่ที่ขมับด้านข้างของกระโหลกศรีษะ แผ่เป็นรัศมีเต็มขมับทำหน้าที่อ้า หุบและยื่นปาก เวลาเคี้ยวอาหารMasseter muscle อยู่ด้านนอกมุมขากรรไกรล่างของใบหน้ารูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำหน้าที่ยกกระดูกขากรรไกรล่างขึ้นเวลาเคี้ยวอาหารPterigiod muscle เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกยื่นจากส่วนมาตรฐานของกระโหลกศรีษะไปยังบริเวณขากรรไกรล่าง มี 2 คู่ คือ External และ Internal pterigoid muscle ช่วยในการอ้าปาก หุบปาก เคลื่อนกรามไปทางด้านข้าง
กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ตื้น คือ อยู่ใต้ผิวหนัง (Subcutaneous tissue) ด้านหนึ่งเกาะกับกระดูกหน้า อีกด้านหนึ่งติดกับผิวหนังของใบหน้าทำหน้าที่แสดงความรู้สึกบนใบหน้าในลักษณะต่าง ๆ เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ และแสดงอาการทางสีหน้า เช่น ยิ้ม หัวเราะร้องไห้ เป็นกล้ามเนื้อที่เน้นบุคลิกภาพของแต่ละคนได้เป็นอย่างดี กล้ามเนื้อที่ใช้แสดงความรู้สึกของใบหน้า (Muscle of facial expression) ที่สำคัญ ได้แก่
Frontalis อยู่ที่หน้าผาก ทำหน้าที่ ยกคิ้วขึ้นลง ทำหน้าผากย่น
Nasalis อยู่ที่จมูก ทำหน้าที่ หุบปีกจมูก เวลาดมกลิ่น
Corrugator อยู่บริเวณคิ้ว – เหนือคิ้ว ทำหน้าที่ ขมวดคิ้ว ครุ่นคิด
Orbiculalis occuli อยู่รอบดวงตา ทำหน้าที่ ปิดตา หรือหลับตา
Zygomaticus major เกาะอยู่บริเวณโหนกแก้ม – ปากบน ทำหน้าที่ยกปาก
Orbicularis oris อยู่บริเวณรอบปาก ทำหน้าที่ หุบปาก ทำริมฝีปากยื่น ทำปากจู๋
Risorius อยู่ถัดออกมาทางด้านข้างของปาก ทำหน้าที่เวลาแสยะยิ้ม
กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยว (Muscle of mastication) มี 4 มัด คือTempolaris muscle อยู่ที่ขมับด้านข้างของกระโหลกศรีษะ แผ่เป็นรัศมีเต็มขมับทำหน้าที่อ้า หุบและยื่นปาก เวลาเคี้ยวอาหารMasseter muscle อยู่ด้านนอกมุมขากรรไกรล่างของใบหน้ารูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำหน้าที่ยกกระดูกขากรรไกรล่างขึ้นเวลาเคี้ยวอาหารPterigiod muscle เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกยื่นจากส่วนมาตรฐานของกระโหลกศรีษะไปยังบริเวณขากรรไกรล่าง มี 2 คู่ คือ External และ Internal pterigoid muscle ช่วยในการอ้าปาก หุบปาก เคลื่อนกรามไปทางด้านข้าง
กล้ามเนื้อคอ (Muscle of the neck) ที่สำคัญในการเคลื่อนไหวของคอ มีอยู่ 3 มัด คือ
1. Sternomastoid หรือ Sternocleidomastoideus เป็นกล้ามเนื้อที่ใหญ่ที่สุดของคอเกาะพาดจากกระดูกหน้าอกกับกระดูกไหปลาร้าไปยังด้านนอกของกระดูก Mastoid และกระดูกท้ายทอย ทำหน้าที่เอียงคอ หันและหมุนคอ
2. Splenius capitis เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านข้างของคอ มีจุดเกาะเริ่มจากกระดูกสันหลังส่วนลำตัว (thoracic spine) อันที่ 3 และ 4 ไปยังจุดเกาะปลายที่กระดูกท้ายทอย ทำหน้าที่ยืดคอ เอียงคอและเงยหน้า
3. Semispinalis capitis เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของคอ จุดเกาะต้นเริ่มจากกระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical spine) อันที่ 4 และ 5 ไปยังจุดเกาะปลายที่กระดูกท้ายทอย ทำหน้าที่ยืดคอ เอียงคอและเงยหน้า
กล้ามเนื้อลำตัว
กล้ามเนื้อส่วนลำตัว (Muscle of the trunk) แบ่งเป็นกล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้าและด้านหลัง ดังนี้
1. กล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้ากล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้าที่เห็นเด่นชัด และมัดใหญ่ มีดังนี้
1.1 Pectoralis minor เป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมแบนเล็กอยู่ภายใต้กล้ามเนื้อPectoralis major เกาะจากผิวนอกของกระดูกซี่โครงซี่ที่ 3 – 5 ไปยัง Coracoid process ของกระดูกสะบัก ทำหน้าที่ดึงหัวไหล่ไปทางด้านหน้าและลงล่าง และช่วยรับน้ำหนักตัวขณะที่ยืนเอามือยัน
1.2 Pectoralis major เป็นกล้ามเนื้อทรวงอกมัดใหญ่รูปร่างคล้ายพัดคลุมอยู่บนอกและทับอยู่บนกล้ามเนื้อ Pectoralis minor และเป็นกล้ามเนื้อที่เกาะจากแนวกลางของกระดูกหน้าอกไปยังกระดูกต้นแขน เป็นกล้ามเนื้อที่เน้นลักษณะเพศชายได้ชัดเจนคือมีลักษณะอกผายไหล่ผึ่ง ทำหน้าที่หุบ งอ หมุนต้นแขนเข้าด้านใน ช่วยในการผลัก ขว้าง ปีนป่าย การหายใจเข้ารั้งแขนให้มาทางด้านหน้าทำให้ไหล่คงรูปอยู่กับที่
1.3 Rectus abdominis เป็นกล้ามเนื้อหน้าท้องมีลักษณะเป็นแถบยาวเป็นปล้อง ๆ เมื่อออกแรงเกร็งมีจุดเกาะต้นจากกระดูกหัวเหน่า (Pubic bone) ทอดขึ้นบนและค่อย ๆกว้างขึ้นไปเกาะที่ปลายผิวหน้าของกระดูก Xiphoid และกระดูกซี่โครงที่ 5, 6,7 ทำหน้าที่เกร็งช่องท้องเวลายกของหนัก ช่วยในการขับถ่ายและคลอดบุตร
1.4 Oblique externus หรือ External oblique เป็นกล้ามเนื้อลำตัวด้านข้างตั้งต้นจากกระดูกที่ 4 -12 ทอดเฉียงจากบนมาล่าง ยึดเกาะที่ Iliac crest ของกระดูกเชิงกรานทำหน้าที่เหมือนกับกล้ามเนื้อ Rectus abdominis
1.5 Serratus anterior เป็นกล้ามเนื้อด้านในของรักแร้ อยู่ทางด้านข้างของอกมีรูปร่างเป็นแฉก ๆ ยึดติดกับกระดูกซี่โครงทางด้านหน้าไปยังกระดูกสะบัก ทำหน้าที่ยึดดึงกระดูกสะบักให้อยู่กับที่และช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อ Deltoid เวลายกแขน
2. กล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหลังในส่วนลำตัวด้านหลัง มีกล้ามเนื้อที่สำคัญดังนี้
2.1 Trapezius เป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมคลุมบริเวณคอด้านหลังลงมาถึงหลัง
โดยยึดเกาะจากแนวกลางของแผ่นหลังส่วนบนไปเกาะที่กระดูกไหปลาร้าทั้งซ้ายและขวา ทำหน้าที่รั้งกระดูกสะบักมาข้างหลัง กล้ามเนื้อส่วนบนเมื่อหดตัวไหล่จะยกขึ้น ส่วนกลางหดตัวจะดึงสะบัก 2 ข้างเข้ามาหากัน ส่วนล่างหดตัวจะทำให้ไหล่ถูกดึงลง
2.2 Latissimus dorsi เป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมแบนกว้าง คลุมอยู่ตอนล่างของแผ่นหลังและบั้นเอวทอดผ่านไปมุมล่างของกระดูกสะบัก ทำหน้าที่ดึงแขนเข้าชิดลำตัวดึง แขน ลงมาข้างล่าง ด้านหลังและหมุนแขนเข้าด้านใน กล้ามเนื้อนี้ใช้มากในการปีนป่าย ว่ายน้ำ และกรรเชียงเรือ จะหดตัวทันทีในขณะที่จาม
|
กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและขา
กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและขา (Muscle of the lower limb) ที่สำคัญ ดังนี้
1. กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและก้นกบ
1.1 Gluteus maximus เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และหน้าที่สุดของส่วนสะโพก มีจุดเกาะที่ Ilium และ Sacrum ของกระดูกเชิงกราน แล้วไปเกาะยังกระดูกต้นขา ทำหน้าที่เหยียดขา กางต้นขา หมุนต้นขา ไปทางด้านข้าง
1.2 Tensor fasciae latae เป็นกล้ามเนื้อทางด้านข้างของสะโพก เกาะอยู่ที่ส่วนหน้าของกระดูกเชิงกรานทำหน้าที่กางและหมุนขาเข้าด้านใน
2. กล้ามเนื้อส่วนโคนขา
กล้ามเนื้อส่วนนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามตำแหน่งหน้าที่ และประสาทที่มาเลี้ยง ด้านหลังของต้นขาเรียกว่า Flexor surface เป็นที่อยู่ของกล้ามเนื้อกลุ่มเอ็นหลังต้นขาด้าล่าง(Hamstring group) อีกกลุ่มหนึ่งคือ กล้ามเนื้อกลุ่มดึงข้อ (Adductor group) และยังมีกล้ามเนื้อกลุ่มด้านหน้าของต้นขา (Anterior group) กล้ามเนื้อส่วนโคนขามัดที่สำคัญ มีดังนี้
2.1 Biceps femoris เป็นกล้ามเนื้อในกล้ามเนื้อกลุ่มเอ็นหลังต้นขาด้านล่าง จุดเกาะเริ่มจากกระดูก Ischium และกระดูกต้นขาไปยังส่วนหัวของกระดูกปลายขาท่อนเล็ก (Fibula)ทำหน้าที่เหยียดต้นขาและงอเข่า
2.2 Rectus femoris เป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของต้นขา (Anterior group)เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่อยู่ทางด้านหน้าของต้นขา จุดเกาะเริ่มจากกระดูก llium ไปยังกระดูกปลายขาท่อนใหญ่ (Tibia) ทำหน้าที่งอต้นขาและเหยียดปลายขา
2.3 Satorius เป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของต้นขา มีลักษณะยาวแบนพาดเฉียงบนโคนขา จุดเกาะเริ่มจาก Iliac spine ไปยังส่วนบนของกระดูกปลายขาท่อนใหญ่ (Tibia)ทำหน้าที่งอต้นขา และปลายขา
3. กล้ามเนื้อส่วนปลายขา
กล้ามเนื้อส่วนปลายขาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มด้านหน้าของปลายขา(Anterior compartment) กลุ่มด้านข้างของปลายขา (Lateral compartment) และกลุ่มด้านหลังของปลายขา (Posterior compartment) กล้ามเนื้อส่วนปลายขาที่สำคัญ ได้แก่
3.1 Tibialis anticus เป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของปลายขา เกาะจากด้านข้างของกระดูกปลายขาท่อนใหญ่ (Tibia) และจากผังผืด ซึ่งยึดระหว่างกระดูกปลายขาท่อนใหญ่และท่อนเล็ก และเกาะที่กระดูกฝ่าเท้าทำหน้าที่กระดกข้อเท้า และบิดข้อเท้าเข้าด้านใน
3.2 Gastrocnemius เป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหลังของปลายขา เป็นกล้ามเนื้อน่องเกาะจากส่วนปลายของกระดูกต้นขาทั้งสองด้าน ส่วนปลายกลายเป็นเอ็นเกาะที่กระดูกส้นเท้า(Achillis tendon) ทำหน้าที่งอหลังเท้า เหยียดนิ้วเท้า ถีบฝ่าเท้าลงและช่วยงอเข่าด้วย
3.3 Soleus เป็นกล้ามเนื้อใหญ่ รูปร่างคล้ายปลาอยู่ใน Gastrocnemius ทำหน้าที่งอฝ่าเท้า
4. กล้ามเนื้อส่วนเท้า
เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะคล้ายบริเวณมีข้อมือแตกต่างกันตรงที่เป็นกล้ามเนื้อที่ควบคุมส้นเท้าระหว่างการเดิน กล้ามเนื้อส่วนเท้าที่สำคัญ มีดังนี้
4.1 Flexor hallucis longus เกาะจากด้านหลังของกระดูกช่วงล่าง ส่วนปลายเป็นเอ็นเกาะที่กระดูกหัวแม่เท้า ท่อนปลายทำหน้าที่งอปลายนิ้วหัวแม่เท้า ทำหน้าที่กระดกข้อเท้าลง และบิดเท้าเข้าด้านใน
4.2 Extensor digitorum brevis เป็นกล้ามเนื้อด้านหลังเท้า ตรงปลายเป็นเอ็นไปเกาะที่นิ้วเท้าทั้ง 4 ยกเว้นนิ้วหัวแม่เท้า ทำหน้าที่เหยียดข้อของนิ้วเท้าทั้ง 4
4.3 Adductor hallucis เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกสุด ทำหน้าที่เหยียดหัวแม่เท้า
4.4 Flexor digitorum brevis เป็นกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเท้า ทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหว เป็นกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้าเวลาเดิน
|
กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่และแขน
กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่และแขน (Muscle of the upper limb) ที่ช่วยในการทำงานของหัวไหล่และแขนที่สำคัญ คือ
1. กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่
1.1 Deltoid เป็นกล้ามเนื้อคลายขนนกหลาย ๆ อันมารวมกันเป็นมัดใหญ่หนารูปสามเหลี่ยมจุดเกาะอยู่ที่ไหปลาร้า และกระดูกสะบัก แล้วไปเกาะที่ตอนกลางของกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่ยกไหล่และยกต้นแขน เป็นส่วนที่บ่งบอกลักษณะเพศชายได้อย่างชัดเจน
1.2 Supraspinatus เริ่มเกาะจากกระดูกสะบักไปยังกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่ช่วยกล้ามเนื้อ Deltoid ในการยก หรือกางแขน
1.3 Infraspinatus เริ่มเกาะจากกระดูกสะบักไปยังกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่หมุนต้นแขนออกด้านนอก และดึงแขนไปด้านหลัง
1.4 Teres minor และ Teres major เกาะที่กระดูกสะบัก แล้วมาเกาะที่กระดูกต้นแขนโดย Teres minor ทำหน้าที่หมุนแขนออกด้านนอก Teres major ทำหน้าที่หมุนแขนเข้าด้านใน
1.5 Subscapularis มีจุดเกาะที่กระดูกสะบักและกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่หมุนต้นแขนเข้าด้านใน
2. กล้ามเนื้อแขนส่วนต้นที่สำคัญได้แก่
2.1 Biceps brachii เป็นกล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นแขน มีที่เกาะส่วนบนแยก 2 ทาง คือ เกาะจาก Coracoid process และ Supraglenoid tubercle ไปยัง Tuberosity ของกระดูกปลายแขนท่อนนอก (Radius) ทำหน้าที่งอต้นแขนและปลายแขน หมุนแขนเข้าและดึงออก
2.2 Brachialis เป็นกล้ามเนื้อต้นแขนที่อยู่ตรงกลางค่อนมาด้านล่าง เกาะจากกระดูกต้นแขนไปยัง Tuberosity ของกระดูกปลายแขนท่อนใน (Ulna) ทำหน้าที่งอข้อศอก
2.3 Coracobrachialis เกาะจาก Coracoid process ของกระดูกสะบักไปยังกึ่งกลางของกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่งอต้นแขน
2.4 Triceps brachii เป็นกล้ามเนื้อด้านหลังของต้นแขน ปลายบนแยก 3 ทางเกาะที่กระดูกสะบักหนึ่งที่ และอีก 2 ทางเกาะที่กระดูกต้นแขน และมีจุดเกาะปลายที่กระดูกปลายแขนท่อนใน (Ulna) กล้ามเนื้อมัดนี้จะทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับกล้ามเนื้อ Biceps brachii คือ ทำหน้าที่เหยียดปลายแขน
3. กล้ามเนื้อส่วนปลายแขน
3.1 Brachioradialis เป็นกล้ามเนื้อด้านนอกของปลายแขน มีจุดเกาะต้นที่ตอนล่างของกระดูกแขน ไปเกาะที่ด้านนอกของกระดูกปลายแขนท่อนนอก (Radius) ทำหน้าที่งอปลายแขน
3.2 Flexor carpi radialis เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของปลายแขน มีจุดเกาะที่กระดูกต้นแขนแล้วมาเกาะที่กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 และ 3 ทำหน้าที่งอข้อมือและกางมือ
3.3 Palmaris longus เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ทางด้านหน้าของแขน จุดเกาะต้นเริ่มจากกระดูกต้นแขนไปยังกระดูกปลายแขน แล้วกลายเป็นเอ็น (Tendon) ไปเกาะที่ฝ่ามือทำหน้าที่งอข้อมือ
3.4 Flexor carpi ulnaris เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ทางด้านหลังของกระดูกปลายแขนท่อนใน (Ulna) ผ่านมาที่ข้อมือ ทำหน้าที่งอข้อมือ
3.5 Extensor carpi radialis longus เป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะต้นจากกระดูกต้นแขนแล้วไปเกาะที่กระดูกฝ่ามือทางด้านหลัง ทำหน้าที่กางและเหยียดข้อมือ
3.6 Extensor digitorum เป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะต้นจากกระดูกต้นแขน และมีปลายเป็นเอ็น 4 อัน ไปเกาะยังกระดูกนิ้วมือทั้ง 4 นิ้ว ทำหน้าที่เหยียดนิ้วมือและข้อมือ
4. กล้ามเนื้อส่วนมือและนิ้ว
กล้ามเนื้อส่วนมือและนิ้วมือ เป็นกล้ามเนื้อขนาดเล็กและสั้น ส่วนมากจะเป็นเอ็นของกล้ามเนื้อซึ่งติดต่อมาจากแขนท่อนล่าง ทำหน้าที่ช่วยในการงอและเหยียดมือและข้อมือรวมทั้งช่วยให้นิ้วหัวแม่มือสามารถเคลื่อนไปแตะนิ้วอื่น ๆ ได้จึงเรียกว่า Opposition กล้ามเนื้อในกลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่
4.1 Thenar eminence เป็นกล้ามเนื้อหัวแม่มือเกาะที่ฝ่ามือ โดยเฉพาะที่ได้ฐานหัวแม่มือจะเห็นเป็นเนินชัดเจน ทำหน้าที่งอนิ้วหัวแม่มือ
4.2 Hypothenar eminence เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้นิ้วก้อย มีรอยนูนเด่นชัด ทำหน้าที่งอนิ้วก้อย
4.3 Dorsal interosseus เป็นกล้ามเนื้อที่กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 และ 2 ผ่านมาเกาะที่นิ้วชี้ ทำหน้าที่กางนิ้วชี้และหมุนหัวแม่มือ
4.4 Abductor pollicis เกาะอยู่ที่ฐานของนิ้วหัวแม่มือ ทำหน้าที่งอนิ้วหัวแม่มือ
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ประเภทการหายใจ
ซึ่งนำอากาศเข้าหรือออกจากปอด สิ่งมีชีวิตที่ต้องการออกซิเจนต้องการออกซิเจนเพื่อปลดปล่อยพลังงานผ่านการหายใจระดับเซลล์ ในรูปของเมตาบอลิซึมโมเลกุลพลังงานสูง เช่น กลูโคส การหายใจเป็นเพียงกระบวนการเดียวซึ่งส่งออกซิเจนไปยังที่ที่ต้องการในร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก อีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเลือดโดยระบบไหลเวียนโลหิต การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นในถุงลมปอดโดยการแพร่ของแก๊สระหว่างแก๊สในถุงลมและเลือดในหลอดเลือดฝอยปอด เมื่อแก๊สที่ละลายนี้อยู่ในเลือด หัวใจปั๊มเลือดให้ไหลไปทั่วร่างกายนอกเหนือไปจากการนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก การหายใจส่งผลให้เกิดการสูญเสียน้ำจากร่างกาย อากาศที่หายใจออกมีควาามชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 100% เพราะน้ำแพร่ข้ามพื้นผิวที่ชุ่มชื้นของทางเดินหายใจและถุงลมปอด
ทางสรีรวิทยาสามารถแบ่งการหายใจ
แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด1. breathing หมายถึงการหายใจเพื่อนำอากาศที่มีก๊าซออกซิเจนจากภายนอกเข้าสู่ปอดโดยการหายใจเข้า และการนำอากาศที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากปอดโดยการหายใจออก2. external respiration หมายถึงการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากับเลือดที่ปอด (ถุงลมปอด) โดยเลือดจะรับก๊าซออกซิเจนและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา(ระหว่างก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายในน้ำเลือด)3. internal respiration หมายถึง ขบวนการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนจากเลือดกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผลิตขึ้นจากเซลล์(ระหว่างออกซิเจนในน้ำเลือดกับคาร์บอนไดออกไซด์ในเซลล์)4. cellular respiration หมายถึงการหายใจภายในหรือการหายใจภายในระดับเซลล์ เป็นขบวนการใช้ก๊าซออกซิเจนในไมโตคอนเดรียในการเมตาโบลิซึมของเซลล์ เพื่อให้ได้พลังงานในรูปของATP
ลักษณะการหายใจ
1. Eupnea
การหายใจเข้าออกอย่างธรรมดา เกิดขึ้นตามปกติเป็นจังหวะติดต่อกัน และค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดเวลา
2. Hyperpnea
การหายใจเข้าออกเร็วและแรงสัมพันธ์กับระดับ Metabolism ของร่างกาย เช่น กรณีการออกกำลังกายมาก ร่างกายใช้ O2 มากและ CO2 ออกมามาก จึงต้องหายใจมากเพื่อรับ O2 และขับเอา CO2 ออกมาให้สัมพันธ์กัน จะพบว่าระดับออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดจะยังคงเป็นปกติ นอกจากนั้นยังพบว่าในคนที่มี Metabolism สูง อื่นๆ อีก เช่น คนเป็นไข้สูง ต่อม Thyroid เป็นพิษ เป็นต้น
3. Hyperventilation
เป็นการหายใจเข้า-ออก เร็ว แรง เช่นกัน แต่เกิดจากอำนาจทางจิตใจ ทั้งๆ ที่ร่างกายยังปกติอยู่ ทำให้ CO2 ถูกขับออกจากร่างกายมาก จะพบระดับ CO2 ในเลือดต่ำ พบในผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจ จะหายใจแรง ผลที่ตามมา คือ ร่างกายจะมีสภาพเป็นด่าง และเกิดเป็นตะคริว ชาตามแขน ขา
4. Hypoventilation
การหายใจน้อย อาจจะมีหายใจช้าร่วมด้วย พบในโรคที่มีการกดศูนย์หายใจ (Respiratory center) ระดับ CO2 ในเลือดจะสูง O2 จะต่ำ
5. Tachypnea
หายใจเร็ว
6. Bradypnea
หายใจช้า
7. Apnea
การหยุดหายใจค้างอยู่ในท่าหลังจากหายใจออก
8. Apneusis
การหยุดหายใจค้างอยู่ในท่าหลังจากหายใจเข้า
9. Periodic breathing (Cheyne - Stroke respiration
) คือ การหายใจที่มีลักษณะเป็นช่วงๆ คือ หายใจเบาๆ น้อยๆ แล้วหายใจแรงขึ้น ๆ แล้วค่อยๆ ลดลงจนหยุด เกิดในคนที่เป็นโรคของสมอง หัวใจ
10. Asphyxia
การหายใจไม่ออกเนื่องจากทางเดินหายใจอุดตัน ทำให้หายใจลำบากและหยุดหายใจในที่สุด คนไข้จะมีอาการเขียวคล้ำเพราะขาด O2 พบในคนจมน้ำ ผูกคอตาย หรือทารกแรกเกิดที่ขาด O2
11. Sighing
การถอนหายใจ เป็นกลไกอันหนึ่งของร่างกายที่จะทำให้ปอดขยายตัวได้เป็นพักๆ เพื่อไม่ให้ปอดแฟบ เป็นการหายใจเข้าออกด้วยปริมาตรจำนวนมาก เกิดขึ้นได้ประมาณ ชั่วโมงละ 8 ครั้ง ในผู้หญิง และ 6 ครั้งในผู้ชาย
12. Yawning
การหาว เป็นการหายใจเข้า-ออก ลึกๆ (ปริมาณมาก) เช่นกัน แต่ใช้ระยะเวลานานกว่า เกิดเนื่องจากมีการขนส่ง CO2 ในร่างกาย หลังตื่นนอนหรือตอนง่วงนอน
13. Hiccough
การสะอึก เกิดจากการหดตัวแน่นๆ เป็นพักๆ (Spasm) ของกล้ามเนื้อกระบังลม (Diaphragm) ทำให้การปิดของ Glottis อาจไม่ตรงตามจังหวะ ลมจะผ่าน Glottis อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเสียงดังพบในการที่มีการระคายเคืองต่อกระบังลม เช่น การที่กระเพาะโปร่งมากเกินไป (จากอาหารที่กิน หรือการกลืนลม) การกลืนน้ำลายเป็นวิธีหนึ่งที่จะแก้สะอึกได้
14. Dyspnea
การหายใจลำบากหรือการหายใจไม่สะดวก ต่างจากข้อ 1-13 ในข้อที่ว่า เราไม่สามารถตรวจพบอาการ Dyspnea ได้ แต่เป็นความรู้สึกของคนที่เป็นเองว่าหายใจไม่พอ พบในคนที่เป็นโรคปอด โรคหัวใจ
15.การหายใจในสภาพแวดล้อมที่ผิดปกติ
15.1 ในที่สูงมากๆ
ถ้าเราอยู่ในที่สูง ความดันบรรยากาศจะลดลง สิ่งแรกที่จะรู้สึก คือ หูอื้อ เนื่องจากความดันในช่องหูยังเท่าเดิม แต่ความดันภายนอกลดลง แก้วหูจะถูกดันให้โป่ง วิธีแก้ไข คือ การกลืนน้ำลาย เคี้ยวหมากฝรั่งเพื่อให้ความดันในช่องหู กลับมาเท่ากับความดันบรรยากาศภายนอก อาการต่อไป คือ ความดันของ O2 จะต่ำลงด้วย จะมีอาการปวดศรีษะ อ่อนเพลีย แน่นหน้าอก และเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
15.2 ในที่ต่ำมากๆ
จะมีความกดดันอากาศมาก ทำให้รู้สึกหายใจไม่สะดวก เคลื่อนไหวลำบาก และสิ่งสำคัญ คือ การขึ้นสู่พื้นดินด้วยความรวดเร็ว Gas nitrogen ในเลือดจะขยายตัวเป็นฟอง เกิด Embolism ไปอุดตามที่ต่างๆ และถ้ามีอาการมากอาจถึงตายได้ เรียกว่า Caisson disease